ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้พลังงานสูงกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคาแหง / Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University, Thailand

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการบริโภค, โรคอ้วน, วัยรุ่น, อาหารพลังงานสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในวัยรุ่น เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้พลังงานสูงในวัยรุ่น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้พลังงานสูงกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย มีอายุระหว่าง 18 25 ปี จานวน 400 คน โดยทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาด ประกอบด้วย ช่องทางด้านการโฆษณามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 3.96 (S.D.=.549) รองลงมาคือด้านการตลาดทางตรง คือ 3.59 (S.D.=.692) ด้านประชาสัมพันธ์ คือ 3.55 (S.D.=.530) ด้านส่งเสริมการตลาด คือ 3.27 (S.D.=.581) และด้านการขายโดยบุคคล คือ 3.06 (S.D.=.526) ตามลาดับ โดยพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในวัยรุ่น พบว่า นอกจากการรับประทานอาหารน้าตาลสูง ไขมันสูง และแป้งสูง ยังมีการรับประทานอาหารมากเกินความจาเป็น คือ มากกว่า 3 มื้อ และมีการทากิจกรรมอื่นเพื่อความเพลิดเพลินพร้อมกับการรับประทานอาหาร ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในวัยรุ่น พบว่า มีค่าความสัมพันธ์ในทางบวกที่ .672 โดยมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01