รูปแบบการพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมแบบบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อรัญญา อินอ่อน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Mahasarakam University, Thailand
  • สมเกียรติ เกียรติเจริญ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Mahasarakam University, Thailand
  • รังสรรค์ อินจันทน์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Mahasarakam University, Thailand

คำสำคัญ:

การพัฒนาเด็ก, กระบวนการ, การขัดเกลาทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจ จัยกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 2) ระดับการพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 3) ปัจจัยกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็ก และ 4) สร้างและยืนยันรูปแบบการพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมแบบบูรณาการในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างการวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา 399 ตัวอย่าง จากการคานวณด้วยสูตรของ Yamane ใช้การสุ่มแบบง่าย และตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และกลุ่มอื่นๆ จานวน 40 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .911 สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยกระบวนการขัดเกลาฯ และการพัฒนาเด็กฯโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กฯอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 มี 5 ตัวแปร คือ ปัจจัยสถานศึกษา ปัจจัยศาสนา/ตัวแทน ปัจจัยสื่อมวลชน ปัจจัยการลงโทษ และปัจจัยการอบรมเลี้ยงดู ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลได้ยืนยันรูปแบบและเห็นว่ารูปแบบการพัฒนาฯ ควรประกอบด้วยปัจจัยทั้ง 5 ตัวแปร ข้อเสนอแนะพบว่าควรพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยเริ่มจากการสร้างความทัดเทียมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างชุมชน สถานศึกษา ศาสนา/ตัวแทน และผู้ปกครอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

How to Cite

อินอ่อน อ., เกียรติเจริญ ส., & อินจันทน์ ร. (2019). รูปแบบการพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมแบบบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(2), 216–229. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243856