ยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์, อินทผลัม, การพัฒนาอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสภาวการณ์ของอินทผลัมในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจ จุบัน2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมและ 3) ตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัม กลุ่มเป้าหมาย จานวน 40 คน ได้แก่ นักวิชาการทางด้านเกษตร ตัวแทนผู้ปลูกอินทผลัม ตัวแทนหอการค้าจังหวัด ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ตัวแทนกระทรวงมหาดไทย ตัวแทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และตัวแทนพาณิชย์จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ต้นอินทผลัมมีการนาเข้าจากต่างประเทศในปี พ.ศ.2555 คือ ชนิดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จุดอ่อน ได้แก่ 1) ประชาชนขาดความรู้และความเชี่ยวชาญ 2) ไม่มีอานาจในการต่อรองด้านราคา จาหน่าย และผลผลิตกับต่างประเทศ จุดแข็ง ได้แก่ 1) มีต้นกล้าจาหน่าย 2) การรวมกลุ่มผู้ปลูกและให้ผลผลิตสูง โอกาส ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน 2) การพัฒนาและการวิจัยครบวงจร 3) การแข่งขันกับต่างประเทศ อุปสรรค ได้แก่ 1) ไม่มีนโยบายภาครัฐมารองรับ 2) ด้านราคาผลผลิตยังไม่แน่นอน 3) มาตรฐานผลผลิตมและการบริหารจัดการ และผลการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัม มี 6 ยุทธศาสตร์ 85 กลยุทธ์ 3. ผลการตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมที่พัฒนาขึ้น โดยรวมมีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน