การนานโยบายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติต่อเกษตรกรรายย่อย ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ประทุมพร ปวงจันทร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม / Graduate College of Management, Sripatum University, Thailand

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ระบบชุมชนรับรองแบบมีส่วนร่วมพีจีเอส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยของการนานโยบายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติ และเสนอแนะต่อแก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสม การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค 116 หน่วยงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 27 คน และการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า หน่วยงาน ฯ มีระดับผลการนานโยบายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติโดยภาพรวม ด้านการบรรลุเป้าหมายของนโยบาย และด้านความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับสูง และมี 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนานโยบายพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติโดยภาพรวมอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ ความเชื่อมั่นต่องานและนโยบาย, ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่, ประสิทธิภาพในการวางแผนและควบคุม, ปัจจัยสังคมและวัฒนธรรม และความรู้ของเจ้าหน้าที่ และมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) หน่วยงานฯ ควรจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ควรเชื่อมโยงข้อมูลและกิจกรรมกัน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้า กลางน้า และปลายน้า และ 3) เกษตรกรควรใส่ใจการผลิตและแปรรูปสินค้า และรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่าย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

How to Cite

ปวงจันทร์ ป. (2019). การนานโยบายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติต่อเกษตรกรรายย่อย ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(2), 175–184. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243850