รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการโรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็กมาก ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • วิชชุดา สุภาพวานิช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Graduate School, Kasetsart University, Thailand
  • โสวัตรี ณ ถลาง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Faculty of Social Sciences, Kasetsart University, Thailand
  • วิพักตร์ จินตนา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Faculty of Forestry, Kasetsart University, Thailand

คำสำคัญ:

การจัดการพลังงานแบบมีส่วนร่วม, โรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็กมาก, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและอุปสรรคในการจัดการโรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งเสนอกลยุทธ์และรูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (PSE) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จานวน 15 รายในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ SWOT โดย McKinsey 7-S และ PEST Framework วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร วิเคราะห์กลยุทธ์โดย TOWS Matrix เพี่อนาเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการโรงไฟฟ้า ผลการศึกษาพบว่า การจัดการโรงไฟฟ้าโดยสหกรณ์ ชุมชนให้ความสาคัญต่อโรงไฟฟ้า และมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้มีต้นน้าผลิตไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้าน ขณะเดียวกันชุมชนต้องเสริมความรู้ในการวางแผนพลังงานและเทคนิคภายใต้ Local Energy Plan (LEP) สร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น สร้างคนรุ่นใหม่บริหารงานโรงไฟฟ้า แม้ภาครัฐปรับปรุงโรงไฟฟ้าโรงแรกให้ ชุมชนต้องเรียนรู้เพื่อการจัดการต่อไป หารือนโยบายพลังงานกับภาครัฐซึ่งต้องผลักดันกฎหมายให้เอื้อต่อการดาเนินธุรกิจไฟฟ้า การจัดการจะประสบความสาเร็จโดย 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ชุมชน และศูนย์วิจัยและพัฒนาของทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมดาเนินการตามกลยุทธ์เชิงรุกโดยมี PSE เป็นหลักผลักดันโครงการ LEP ไปทิศทางเดียวกันอีกทั้งภาครัฐต้องแก้ไขข้อจากัดทางด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการดาเนินธุรกิจพลังงานชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการประดิษฐ์อุปกรณ์ในประเทศให้มีมาตรฐานสากลที่ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนอย่างแท้จริง ซึ่งจะทาให้ชุมชนแม่กาปองเป็นศูนย์เรียนรู้ที่เป็นต้นแบบภายใต้โครงการ LEP ที่มีอยู่ทั่วประเทศ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

How to Cite

สุภาพวานิช ว., ณ ถลาง โ., & จินตนา ว. (2019). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการโรงไฟฟ้าพลังน้าขนาดเล็กมาก ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(2), 104–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243842