ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสู่ความเป็นเลิศของชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ในประเทศไทยตามแนวประชารัฐ: กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อริสา สำรอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง / Faculty of Education, Ramkhamhaeng University, Thailand
  • สุภัทริภา ขันทจร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน / Faculty of Sciences and Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Isan, Thailand

คำสำคัญ:

องค์การสู่ความเป็นเลิศ, ภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลง, องค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจ จัยส่งผลต่อการเป็นองค์การสู่ความเป็นเลิศ 2) เปรียบเทียบประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านบริการท่องเที่ยวและลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3) ศึกษาสมการพยากรณ์โดยมีภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลง องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นตัวพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พัฒนากร, ประธานชุมชน, คณะกรรมการชุมชน, ปราชญ์ชุมชน, ชาวบ้าน จานวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่วิธี (Scheffé) วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบ (Enter) ผลวิจัย พบว่า 1) ชุมชนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนองค์การสู่ความเป็นเลิศและภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก 2) ประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านบริการท่องเที่ยวต่างกันมีการขับเคลื่อนพัฒนาองค์การสู่การเป็นเลิศแตกต่างกันที่ระดับนัยสาคัญ .05 พบว่าประสบการณ์ 3 4 ปี, 5 6 ปี มีการขับเคลื่อนพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศมากกว่าประสบการณ์ 1 2 ปี ลักษณะงานที่ปฏิบัติมีการขับเคลื่อนพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศแตกต่างกันที่ระดับนัยสาคัญ .05 พบว่าประธานชุมชน คณะกรรมการชุมชน และปราชญ์ชุมชนขับเคลื่อนพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศมากกว่าชาวบ้าน 3) ภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลง และองค์การแห่งการเรียนรู้ ส่งผลต่อการเป็นองค์การสู่ความเป็นเลิศ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์ร้อยละ 62.7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01