กลยุทธ์การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบท มรดกโลกทางธรรมชาติ: กรณีศึกษาป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ เมืองบัวละพา แขวงคาม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาลาว
คำสำคัญ:
การพัฒนายุทธศาสตร์, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ, มรดกโลกทางธรรมชาติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพปัจ จุบันในเขตป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ ทางด้านสภาพธรรมชาติหรือนิเวศวิทยาด้านสังคมวัฒนธรรมของผู้คนและการท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ป่าสงวนแห่งชาติหนามหน่อในปัจจุบัน 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทมาดกโลก กลุ่มเป้าหมาย 58 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาคองค์กรอิสระ และกลุ่มเป้าหมาย 15 คน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้วิธีเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครง สร้างและอธิบายเนื้อหาแบบพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ใน หินหนามหน่อมีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ แม่น้าเซบั้งไฟ ภูเขาหินปูน และสัตว์ป่าที่หลากหลายชนิด ด้านสังคมและวัฒนธรรมมีชนเผ่าต่างๆ เช่น ชนเผ่าผู้ไท, โย้ย และกะเลิง ชนเผ่ามอญ ขะแม, ชนเผ่ามะกอง ตรีชนเผ่าผสม ง่อน, สะลางและอื่นๆ สาหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในป่าสงวนแห่งชาติ เช่น การเดินสารวจถ้า ปั่นจักรยาน และการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ การเรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่นและการดารงชีวิตคนกับป่าและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอนาคต 2) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการพัฒนา ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายเอกชนมาลงทุน กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและมรดกโลก กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และกลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการสารวจทรัพยากรการท่องเที่ยว