การเมืองภาคประชาชนในประเทศเมียนมาร์: การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพระสงฆ์ช่วงอาณานิคม

ผู้แต่ง

  • ศิรินภา กรรพุมมาลย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร / Faculty of Social Sciences, Naresuan University, Thailand
  • วศิน ปัญญาวุธตระกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร / Faculty of Social Sciences, Naresuan University, Thailand

คำสำคัญ:

การเมืองภาคประชาชน, การเคลื่อนไหวทางการเมือง, บทบาทพระสงฆ์, เมียนมาร์ในยุคอาณานิคม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพระสงฆ์ที่เกิดขี้นในช่วงอาณานิคม ในประเทศเมียนมาร์ คือ กบฏเกือก (1918) และกบฏซายาซาน (1930-31) ผ่านองค์กร Young Men’s Buddhist Association (YMBA) และ General Council of Burmese Association (GCBA) รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เอกสารตาราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว แนวคิดหลักที่ใช้ในการศึกษา คือ แนวคิดการเมืองภาคประชาชน และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผลการศึกษา พบว่า การเคลื่อนไหวของ “กบฏเกือก” (1918) เกิดจากการรวมกลุ่ม/องค์กร YMBA ของฆราวาสหนุ่มในการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และการศึกษา โดยมีพระสงฆ์เข้าร่วมในภายหลัง และประสบความสาเร็จในการต่อต้านคนอังกฤษที่สวมรองเท้าเข้าในพุทธสถาน ได้มีการปรับองค์กรจากเดิมเป็น GCBA เพื่อเป้าหมายทางการเมือง การได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยการเคลื่อนไหวของ “กบฏชาวนา” หรือ “กบฏซายาซาน” (1930-31) ที่ได้แรงกระตุ้นและปลุกระดมโดยพระสงฆ์หัวก้าวหน้า (พระอูอุตะมะ) ที่ใช้แนวคิดอหิงสาของมหาตะมะ คานธี โดยสรุป การเคลื่อนไหวทางการเมืองข้างต้น เป็นบทสะท้อนการเมืองภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยผ่านการรวมกลุ่มให้ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม เรียกร้องสิทธิของประชาชนในพื้นที่สาธารณะและความเสมอภาคทางการเมือง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

How to Cite

กรรพุมมาลย์ ศ., & ปัญญาวุธตระกูล ว. (2019). การเมืองภาคประชาชนในประเทศเมียนมาร์: การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพระสงฆ์ช่วงอาณานิคม. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(2), 13–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243823