แนวคิดจักรวาลวิทยาในวรรณกรรมไตรภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธนพล จุลกะเศียน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา / Faculty of Fine & Applied Arts, Burapha University, Thailand

คำสำคัญ:

จักรวาลวิทยา, วรรณกรรมไตรภูมิ, ความเชื่อโบราณ, สวรรค์, นรก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวจักรวาลวิทยาที่ปราฏขึ้นทั่วโลก และในวรรณกรรมประเภทไตรภูมิ เพื่อหาที่มาและความเชื่อมโยงกันของแนวคิดจักรวาลวิทยาในแหล่งต่างๆ และในวรรณกรรมประเภทไตรภูมิ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดทาให้สันนิษฐานได้ว่า จักรวาลวิทยาหรือโลกศาสตร์ในวรรณกรรมประเภทไตรภูมิน่าจะมีรากฐานทางความเชื่อเกี่ยวพันกันกับกลุ่มความเชื่อของอารยธรรมลุ่มน้าไทกริสยูเฟรติส, ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู, ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ศาสนาไชนะ, และศาสนาพุทธนิกายมหายาน ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ในส่วนรายละเอียดเนื้อหาของวรรณกรรมไตรภูมิพบว่าไม่มีคัมภีร์เล่มใดที่ระบุเนื้อหาที่ตรงกันทุกประการ ซึ่งเนื้อหาที่มีการอธิบายไว้ในด้านภาพรวมส่วนจักรวาลและโลกนั้นเป็นส่วนที่ระบุต่างกันมากที่สุด โดยประเด็นที่มีการอธิบายตรงกันมากที่สุด คือ เรื่องตาแหน่งเขาสัตตบริภัณฑ์, ลักษณะของชมพูทวีป, ลักษณะของดาวดึงส์ภูมิ, และลักษณะของโลกันตนรก ทั้งนี้คัมภีร์ที่ระบุส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับจักรวาลและโลกนี้มากที่สุดจากกลุ่มตัวอย่าง คือ โลกสัณฐานโชตรคัณฐี ส่วนที่ระบุเนื้อหาเกี่ยวกัสวรรค์มากที่สุดคือ จักกวาฬทีปนี ส่วนไตรภูมิโลกวินิจฉัยระบุส่วนเนื้อหาของนรกมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01