ปัญหาหมอกควันและผลกระทบด้านสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รัชนีวรรณ คำตัน สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / Applied Economics Department, Faculty of Economics, Maejo University, Thailand
  • ขนิษฐา เสถียรพีระกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / Faculty of Economics, Maejo University, Thailand
  • ฑีฆา โยธาภักดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ / Maejo University Phare Compus, Thailand
  • เก นันทะเสน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / Faculty of Economics, Maejo University, Thailand

คำสำคัญ:

ปัญหาหมอกควัน, ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน, ผลกระทบด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาหมอกควันและผลกระทบทางด้านสุขภาพ ใช้ข้อมูลอนุกรม เวลาตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2556-2560 ประกอบด้วย ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่ วโมง จานวนผู้ป่ว ยนอกและผู้ป่วยในจาก 4 กลุ่มโรค การเกิดไฟป่า และจุดความร้อนของจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ การวิเคราะห์ตัวแบบถดถอยทวินามลบ ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาหมอกควัน ตั้งแต่พ.ศ.2556-2560 พบจุดความ ร้อนมากที่สุดในพื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่เกษตร ตามลาดับ พบมากที่สุดในเดือนมีนาคม อาเภอเชียง ดาวมีการเกิดไฟป่า สะสมมากที่สุดและมีแนวโน้มของการเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ.2557 เป็นมา ส่วน อาเภอแม่แจ่มมีจุดความร้อนสะสมมากที่สุด แต่พบว่ามีแนวโน้มการเกิดจุดความร้อนและการเกิดไฟป่าลดลงอย่าง ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาการเกิดไฟป่าที่มีประสิทธิภาพ ส่วนผลการวิเคราะห์ผลกระทบการ เพิ่มขึ้นปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชัว่ โมง พบว่า มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจานวน ผู้ป่วยนอกมากกว่าผู้ป่วยใน โดยเฉพาะ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด และกลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิดที่ ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01