การใช้แอพพลิเคชันผ่านเศรษฐกิจแบ่งปันในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เศรษฐกิจแบ่งปัน, แอพพลิเคชัน, ดิจิทัลแพลตฟอร์มบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเศรษฐกิจแบ่งปัน ในประเทศไทยและปัจ จัยที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของการใช้แอพพลิเคชันในชีวิตประจาวันผ่านเศรษฐกิจแบ่งปัน จาแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ เช่น เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน เงินออมต่อเดือน อาชีพ ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ และความรู้ความเข้าใจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการ เลือกตัวอย่างตามสะดวก โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จานวน 882 ชุด โดยใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนร่วมพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์เกือบทุกตัวมีอิทธิพลต่อการใช้ เศรษฐกิจแบ่งปันอย่างมีนัยสา คัญที่ระดับ.05 ยกเว้นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตัวแปรด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์เกือบทุกตัวมีอิทธิพลต่อการใช้บริการเศรษฐกิจแบ่งปันเช่นเดียวกัน โดยมีค่า R-squared เท่ากับ.531 ข้อเสนอแนะควรจะมีการศึกษากรณีเศรษฐกิจแบ่งปันที่สา เร็จและล้มเหลว เพื่อให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือ Startup ลดความเสี่ยงในการเสนอให้บริการ และสามารถออกแบบใหม่ๆ เพื่อนาเสนอผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ เช่น ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่ งการเข้าร่วมในเศรษฐกิจแบ่งปันของผู้สูงอายุ