ศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิด ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว จันทบุรีและตราด

ผู้แต่ง

  • พรทิวา อาชีวะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี / Faculty of Humanities and Social Sciences, Rambhai Barni Rajabhat University, Thailand
  • จำลอง แสนเสนาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี / Faculty of Humanities and Social Sciences, Rambhai Barni Rajabhat University, Thailand
  • ขวัญศิริ เจริญทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี / Faculty of Humanities and Social Sciences, Rambhai Barni Rajabhat University, Thailand
  • กนกวรรณ อยู่ไสว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี / Faculty of Humanities and Social Sciences, Rambhai Barni Rajabhat University, Thailand

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารจัดการ, พื้นที่ทุ่นระเบิด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา และผลกระทบของพื้นที่ทุ่นระเบิด ศักยภาพ ปัจจัยที่มีผลและข้อเสนอเชิง นโยบายในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชาของจังหวัด สระแก้ว จันทบุรีและตราด วิธีวิทยาการวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีกรณีศึกษาจากการวิจัยเอกสาร การศึกษาประวัติศาสตร์จากคา บอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย รวมถึงการสังเกตการณ์แบบไม่ มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ยังคงมีปัญหาทุ่นระเบิดหลงเหลืออยู่ทัง้ ในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัด ตราดอีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินและสัตว์ป่า ปัญ หาดังกล่าวชุมชนทั้งสามจังหวัดมีศักยภาพในการ วิเคราะห์ปัญหา การแสวงหาทางเลือกใหม่และการวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดจากการมีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจ ข้อเสนอในเชิงนโยบายนั้นควรเน้นการบริหาร จัดการแบบภาคีเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน และภาคประชาสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01