การพัฒนาระบบคิวอาร์โค้ดเพื่อป้องกันอาชญากรรมสำหรับ ผู้โดยสารรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่)

ผู้แต่ง

  • สันติ กรอบสนิท คณะตารวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ / Faculty of Police Science, Royal Police Cadet Academy, Thailand

คำสำคัญ:

ระบบคิวอาร์โค้ด, การป้องกันอาชญากรรม, ผู้โดยสารรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบคิวอาร์โค้ดเพื่อป้องกันอาชญากรรมสาหรับผู้โดยสารรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) โดยตัวอย่างของการวิจัย คือ ผู้โดยสารรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาด 10 คน และกลุ่มตัวอย่างภาคสนาม ขนาด 30 คน โดยวิธีการดาเนินการวิจัยและพัฒนา 5 ขัน้ ตอนได้แก่ 1)การตรวจสอบกรอบแนวความคิดเชิงทฤษฎี จากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง3ด้านได้แก่ ด้านวิจัยและพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านอาชญาวิทยา 2) ขัน้ ตอนการสร้างรายละเอียดระบบคิวอาร์โค้ดและคู่มือการให้ความรู้ 3)ขัน้ ตอนการพัฒนา 4) การทดลองนาระบบคิวอาร์โค้ดไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างและประเมินผล 5)การนาระบบคิวอาร์โค้ดไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างภาคสนาม พร้อมทัง้ ประเมินผล ผลการวิจัยพบว่า ฐานข้อมูลต่างๆ ของระบบคิวอาร์โค้ดที่นาไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างมีความสอดคล้องกับทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม สามเหลี่ยมอาชญากรรมและการป้องกันอาชญากรรมเชิงสถานการณ์ โดยทุกฐานข้อมูลมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด รวมไปถึงผลการนาระบบคิวอาร์ โค้ดไปใช้ในภาคสนาม 30 คน โดยการประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง พบว่า มีความสอดคล้องกับทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม สามเหลี่ยมอาชญากรรมและการป้องกันอาชญากรรมเชิงสถานการณ์ ซึ่งผลการประเมินก่อนการให้ความรู้พบว่าทุกฐานข้อมูลมีผลการประเมินอยู่ในระดับน้อยที่สุด และหลังจากการให้ความรู้และทดลองใช้ระบบคิวอาร์โค้ดพบว่า ทุกฐานข้อมูลมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-17

How to Cite

กรอบสนิท ส. (2019). การพัฒนาระบบคิวอาร์โค้ดเพื่อป้องกันอาชญากรรมสำหรับ ผู้โดยสารรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่). สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(1), 124–136. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229842