กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการยึดอำนาจภายใต้วิกฤตความขัดแย้ง ทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา / Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, Thailand

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, กลยุทธ์การสื่อสาร, ประยุทธ์ จันทร์โอชา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ความเป็นตัวตน และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และบทความที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2557-2559 จานวน 5 เล่ม โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ที่ประกอบไปด้วย ภาพลักษณ์ทางการเมือง และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง ผลวิจัยพบว่าภาพลักษณ์และความเป็นตัวตนของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 1) ความมัน่ ใจและมุ่งมัน่ในการแก้ปัญหาประเทศ 2) ความรักชาติและความซื่อสัตย์ 3) ความเป็นเผด็จการ 4) ไม่เกรงกลัวสื่อมวลชน 5) อารมณ์ขัน ส่วนกลยุทธ์การสื่อสารทางด้านเน้อื หาสาร ได้แก่ 1) พัฒนาค่านิยมไทยที่พึงประสงค์ 2) ความปรองดองสมานฉันท์3) การจัดระเบียบทางสังคม และ 4) ความรักชาติ และกลยุทธ์ด้านรูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ รูปแบบที่เป็นแบบทางการ(แถลงนโยบายสุนทรพจน์ แถลงข่าว) รูปแบบบันเทิง เช่น เพลง ละคร รูปแบบแพลตฟอร์ม และมีรายการประจาของรัฐบาล รายการเดินหน้าประเทศไทย หรือ คืนความสุขประเทศไทย เป็นต้น โดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเข้าถึงผู้รับสารที่เป็นประชาชนคนไทยได้อย่างทัว่ ถึงเพราะมีรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-16

How to Cite

โชติเวศย์ศิลป์ ภ. (2019). กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการยึดอำนาจภายใต้วิกฤตความขัดแย้ง ทางการเมือง. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 8(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229773