รูปแบบที่เหมาะสมของยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ แบบภาคีมีส่วนร่วมในจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ชลธิดา อุเทศนันท์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร / Faculty of Social Sciences, Naresuan University, Thailand
  • มนตรี กรรพุมมาลย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร / Faculty of Social Sciences, Naresuan University, Thailand

คำสำคัญ:

รูปแบบที่เหมาะสม, ยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ, ภาคีมีส่วนร่วมในจังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการหารูปแบบที่เหมาะสมของยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแบบภาคีมีส่วนร่วมในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งผู้วิจัยใช้วิจัยการเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวมทัง้ ยังมีการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพที่มีแนวคาถาม การสนทนากลุ่ม เพื่อให้ภาคีเครือข่ายทัง้ ในระดับจังหวัดและพื้นที่มีความเข้าใจในบริบท มองเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งเพื่อนาไปเสริมพลังในรูปแบบยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ผลการวิจัย พบว่า การจัดสวัสดิการสังคมในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการจัดใน 3 ลักษณะ คือ การประกันสังคม การบริการทางสังคม และการช่วยเหลือทางสังคม ทัง้ นี้การจัดสวัสดิการในเครือข่ายระดับพื้นที่ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมมากกว่าในเครือข่ายระดับจังหวัด ยังผลให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทัง้ ในระดับจังหวัดและพื้นที่ เพื่อเติมเต็มจุดอ่อนและเสริมพลังจุดแข็งทาให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมของยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแบบภาคีมีส่วนร่วมในจังหวัดอุตรดิตถ์ ใน 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ 1)ยุทธศาสตร์การบริการทางสังคมผู้สูงอายุแบบภาคีมีส่วนร่วมในระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันสังคมผู้สูงอายุของภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการช่วยเหลือทางสังคมผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด และในที่สุดได้กลไกในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ที่มีการดา เนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนสา หรับภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-16