เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยห่วงโซ่สินค้าของผลไม้ภาคตะวันออก: ศึกษากรณีทุเรียน

ผู้แต่ง

  • วงธรรม สรณะ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา / Faculty of Political Science and Law, Burapha University, Thailand

คำสำคัญ:

ทุเรียน, ห่วงโซ่สินค้า, การแลกเปลี่ยนที่ไม่เสมอภาค, เศรษฐศาสตร์การเมือง

บทคัดย่อ

ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สา คัญ สามารถจาแนกออกได้ 2 ยุค คือ ตลาดการค้าทุเรียนยุคแรกเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ ชาวสวนมีบทบาทในการผลิตและขับเคลื่อนตลาดการค้า สามารถกาหนดราคาขายแก่พ่อค้าและผู้บริโภคตลาดการค้าทุเรียนในยุคที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศจีนส่งผลให้มีการนาเข้าทุเรียนสู่ตลาดจีน มูลค่าสินค้าทุเรียนจูงใจให้มีการผลิตทุเรียนเพื่อการสง่ ออก ชาวสวนต้องผลิตสินค้าให้ตรงตามมาตรฐานสินค้าที่กาหนด หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขชาวสวนสามารถขายทุเรียนในตลาดธรรมชาติหรือตลาดอื่น งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาการก่อรูปห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกและเพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชิงอา นาจของห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียนจังหวัดจันทบุรี ข้อค้นพบจากงานวิจัย พบว่า มูลค่าส่วนเกินจากทุเรียนผลผลิตจากเขตรอบนอกรวบรวมและถ่ายเทไปยังตลาดจีน (เขตแกนนา) โดยมีรัฐและพ่อค้านายทุน (เขตกึ่งรอบนอก) ที่ควรมีบทบาทในการดูดซับความขัดแย้งระหว่างชาวสวนและนายทุน แต่พ่อค้านายทุนจากเขตกึ่งรอบนอกใช้ความเชื่อมโยงระหว่างนายทุนสะสมทุนเกิดความสัมพันธ์ที่นามามาสู่ความสัมพันธ์แบบ “ครอบงา” และ “พึ่งพา” และการแลกเปลี่ยนที่ไม่เสมอภาคข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ภาครัฐต้องสร้างมาตรฐานสินค้า หรือสร้าง “แบรนด์ทุเรียนไทย” ให้ตลาดต่างประเทศยอมรับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์มาตรฐานตามความต้องการกลุ่มนายทุนส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าและการผลิตส่วนชาวสวนต้องพัฒนาผลผลิตและสร้างช่องทางการค้าที่หลากหลาย เพื่อสร้างอานาจในการต่อรองและลดการพึ่งพาระหว่างชาวสวนกับพ่อค้าหรือนายทุน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-15

How to Cite

สรณะ ว. (2019). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยห่วงโซ่สินค้าของผลไม้ภาคตะวันออก: ศึกษากรณีทุเรียน. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 7(1), 82–92. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229557