การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี / Faculty of Humanities and Social Sciences, Phetchaburi Rajabhat University, Thailand

คำสำคัญ:

การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น, จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบ วิธีการ และเครือข่ายของการทุจริตเลือกตั้งท้องถนิ่ ในจังหวัดเพชรบุรีรวมถึงปัญหาและแนวทางในการป้องกันการทุจริตเลือกตัง้ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัง้ แต่ พ.ศ.2540-2557 โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่มย่อย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า 1. รูปแบบและวิธีการในการทุจริตเลือกตั้ง จาแนกได้ 2 รูปแบบ คือ 1) การทุจริตเลือกตั้งทางตรง ได้แก่ การซื้อเสียงโดยตรงและโดยอ้อม ด้วยกลวิธีที่หลากหลายในการใช้เงินซื้อเสียง 2) การทุจริตเลือกตัง้ ทางอ้อมมีกลวิธีต่างๆ เช่น การย้ายคนเข้ามาในเขตเลือกตัง้ การส่งผู้สมัครลงแข่งขันเพื่อตัดคะแนน การแจกสงิ่ ของ การใช้อิทธิพลข่มขู่ และการโจมตีคู่แข่งขัน 2. เครือข่ายในการทุจริตเลือกตั้งมี 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) ความเป็นนักการเมืองท้องถนิ่ 2) ความสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับชาติภายในและนอกจังหวัด 3) ความเป็นญาติพี่น้อง 4) ความเป็นพรรคพวกกัน และ 5) เครือข่ายหัวคะแนน 3. ปัญหาในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ วัฒนธรรมการทุจริตเลือกตั้งในสังคมทาให้การรณรงค์ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หน่วยงานเกี่ยวข้องปฏิบัติงานล่าช้า ล้มเหลว ไม่มีอานาจเพียงพอ ไม่โปร่งใสยุติธรรม และ บุคลากรไม่เพียงพอ 4. แนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติงานอย่างจริงจังในการควบคุมและจัดการเลือกตั้ง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สุจริตและเที่ยงธรรม และควรปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมาย โดยเพมิ่ อา นาจให้องค์กรจัดการเลือกตัง้ เช่นเดียวกับองค์อิสระอื่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-15