ประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เทอดเกียรติ ไพศาลอัชพงษ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี / Bangkok Thonburi University, Thailand

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ธรรมาภิบาล, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร และ 3) เสนอแนะปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสา หรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสมทัง้ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นหัวหน้าฝ่าย สานักงานเขต กรุงเทพมหานคร จานวน 50 เขต เขตละ 10 คนรวมทัง้ สิ้น 500 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าฝ่าย สา นักงานเขต จานวน 22 เขต เขตละ 10 คน รวมทัง้ สิ้น 220 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรเป็นผู้อานวยการเขต และผู้ช่วย ผู้อานวยการเขต จานวน 50 เขต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อานวยการเขตและผู้ช่วยผู้อานวยการเขตจา นวน 6 เขต รวมทัง้ สิ้น 12 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราสว่ นประมาณค่า มีความเชื่อมัน่ เท่ากับ 0.99 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า (1) ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากทัง้ 6 ด้าน (หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า และหลักการมีส่วนร่วม) (2) ด้านความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากทัง้ 4 ด้าน (ด้านความมัน่ คงในการทางาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสภาพแวดล้อมในการทา งาน และด้านค่าตอบแทน) และ (3) ด้านประโยชน์ที่สังคมได้รับ อยู่ในระดับมากทุกประเด็น (การให้บริการถูกต้องตามกฎ ระเบียบ และปฏิบัติตามขัน้ ตอน ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับ ความสะดวกและรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยอัธยาศัยที่ดีและสุภาพ มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ใน การให้บริการ เจ้าหน้าที่ให้ความสนใจในการรับฟังปัญหาและให้คาแนะนาในการแก้ไขปัญหา) 2. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร เรียงตามลาดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลมากไปหาน้อยที่ระดับนัยสา คัญทางสถิติ 0.01 ประกอบด้วย (1) ด้านสมรรถนะของผู้บริหาร(ภาวะผู้นาและการใช้หลักธรรมาภิบาล) (2) ด้านนโยบาย (มาตรฐานและความชัดเจนของนโยบาย) (3) ด้า นทรัพยากร(งบประมาณ บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์) และ (4) ด้านการบริหาร (ภารกิจและการมอบหมายงาน กลไกและกระบวนการ) 3.ปัญ หา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสาหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3.1 ปัญหา และอุปสรรคสาหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (1) การใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่าระบบคุณธรรมในการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งที่สูงขึ้น เพราะถูกแทรกแซงจากนักการเมือง (2) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของหลักธรรมาภิบาลที่มีต่อองค์การและประชาชน (3) ขาดการปรับปรุงโครงสร้างที่เป็นปัญหาหลักในการบริหารงาน (4) การใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่าและไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน (5) ขาดการส่งเสริมขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง และ (6) บุคลากรขาดจิตสานึกในการปฏิบัติงาน 3.2 ข้อเสนอแนะสาหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (1) ควรนาระบบคุณธรรมมาใช้อย่างจริงจังในทุกสา นักงานเขต (2) ควรมีการพัฒนาความรู้ของผู้บริหารและข้าราชการเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล (3)ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างและระบบงานให้สอดคล้องกับความจา เป็นและความต้องการในการบริหารให้มากยงิ่ ขึ้น (4) ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน (5) เสริมสร้างขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการด้วยวิธีการและแนวทางที่หลากหลาย และ (6) พัฒนาจิตสา นึกในการปฏิบัติงานของข้าราชการให้สูงขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-13

How to Cite

ไพศาลอัชพงษ์ เ. (2019). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 5(1), 25–33. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229123