การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้าแม่กลองในการต่อต้าน นโยบายบริหารจัดการน้าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา เทียนอ่อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / Chulalongkorn University, Thailand
  • ประภาส ปิ่นตบแต่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / Chulalongkorn University, Thailand

คำสำคัญ:

ขบวนการเคลื่อนไหว, ทรัพยากรน้ำ, ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง, รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ได้อธิบายถึงการเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้าแม่กลอง (จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี) ในการต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้าของรัฐบาลยงิ่ ลักษณ์ ชินวัตร โดยศึกษาถึงการก่อเกิด การจัดตั้งองค์กร วิธีการระดมทรัพยากร ยุทธวิธีการต่อสู้ การสร้างวาทกรรมและพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวภายใต้เครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้าแม่กลอง ที่การรวมตัวกันเพื่อต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้าตามงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทในช่วงรัฐบาลยงิ่ ลักษณ์ ชินวัตร เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของเครือข่ายในพื้นที่ลุ่มแม่น้าแม่กลอง และมุ่งเน้นรายละเอียดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นพื้นที่หลักของงานวิจัยในส่วนการเลือกผลิตชุดวาทกรรมต่างๆเพื่อให้เป็นจุดรวมของขบวนการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งให้เห็นภาพความเชื่อมโยงทั้งเครือข่ายที่มีอยู่ภายในและภายนอกจังหวัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงจากในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามไปสู่ภาพรวมของการเคลื่อนไหวทั้งลุ่มแม่น้าแม่กลอง โดยงานวิจัยชิ้นนี้จะเลือกใช้ทฤษฎีการระดมทรัพยากรและทฤษฎีโครงสร้างทางโอกาสทางการเมือง มาผนวกกับทฤษฎีกระบวนการสร้างกรอบวาทกรรมมาเป็นเครื่องมือในวิเคราะห์ เพื่อที่จะทาให้เข้าใจถึงฐานวิธีคิดและพลวัตของการต่อสู้ของขบวนการดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยงิ่ ขึ้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวในการต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้าในพื้นที่ลุ่มแม่น้าแม่กลองนั้น ถือว่าเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งและประสบความสา เร็จขบวนการหนึ่ง ที่เกิดจากความสามารถในการขยายเครือข่ายเพื่อใช้เป็นพลังในการต่อรองกับรัฐบาลได้และนาไปสู่ความเข้มแข็งขององค์กรโดยมีฐานแนวคิดอยู่ที่ปัญหาความเดือดร้อนซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สา คัญและจา เป็นทัง้ นี้ การก่อตัวและเติบโตของขบวนการเคลื่อนไหวในอยู่บนเงื่อนไขที่สา คัญ 3 ประการ คือ 1. การเกิดขึ้นท่ามกลางบริบททางการเมืองที่มีความขัดแย้ง 2. ความสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายทัง้ ภายในและภายนอกจังหวัด โดยเครือข่ายเหล่านี้เคยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน 3. ความสามารถในการระดมพลังมวลชน การขยายเครือข่าย ทั้งจากการต่อสู้ด้วยนิยามหรือวาทกรรม และสงิ่ ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทรัพยากรได้แก่ คน เงิน แรงงาน กิจกรรมต่างๆในการเคลื่อน การกา หนดยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-12