การก่อตัวของวาระนโยบายและการกำหนดนโยบายเกษตรพันธสัญญา

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ รุ่งเรืองศรีเมธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / Chulalongkorn University, Thailand
  • อนุสรณ์ ลิ่มมณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / Chulalongkorn University, Thailand

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, การก่อตัวของวาระนโยบาย, การกำหนดนโยบาย, เกษตรพันธสัญญา, แผนประสาน ความร่วมมือสี่ภาคเพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การก่อตัวของแผนประสานความร่วมมือสี่ภาคเพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม หรือ นโยบายสี่ประสาน ปี พ.ศ.2530 (นโยบายเกษตรพันธสัญญา) มีที่มาสา คัญ 4 ประการ คือ ประการที่ 1 ความสอดคล้องของแผนพัฒนาเกษตรในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 การเพมิ่ ประสิทธิภาพการผลิตและ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 การผลิตเพื่อขายและกระจายผลผลิตซึ่งถูกออกแบบและร่างแผนพัฒนาฯให้มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องกัน ประการที่ 2 บทบาทของรัฐในการกาหนดนโยบายพัฒนาการเกษตรตามแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรภายใต้แนวคิดการพัฒนาและใช้โครงสร้างอา นาจพื้นฐานของรัฐ ประการที่ 3 การจัดตัง้ คณะกรรมการ กรอ. คณะกรรมการ กชช. และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์กับ กลุ่มเทคโนแครต ประการที่ 4 กระบวนการริเรมิ่ ผลักดันและก่อตัวของนโยบายเกิดขึ้นอยู่ในภาครัฐ จากที่มาสา คัญสา คัญทัง้ หมดข้างต้นจึงทา ให้รัฐมีบทบาทนาในขัน้ ตอนการกา หนดวาระนโยบาย ในขัน้ ตอนการกาหนดนโยบายปัจจัยที่ทาให้ภาคเอกชนมีอิทธิพลในการกาหนดนโยบายมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ลกั ษณะของนโยบายที่ให้บทบาทของภาคเอกชนมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในดาเนินการผลิตแบบครบวงจรหรือใช้ระบบการผลิตแบบเกษตรพันธสัญญาตั้งแต่การขายปัจจัยการผลิต วางแผนควบคุมแผน การผลิต ส่งเสริมเทคโนโลยี และเป็นตลาดรับซื้อผลผลิต สินเชื่อในด้านทุนและความรู้ในการผลิต และด้วยความได้เปรียบของภาคเอกชนในฐานะชนชัน้ นายทุนเมื่อรัฐบาลพลเอกเปรมแก้ปัญหาและส่งเสริมสังคมทุนนิยมและการพัฒนาอุตสาหกรรมก็ยิ่งทาให้ชนชัน้ นายทุนได้รับผลประโยชน์โดยตรงอันเป็นการสร้างความได้เปรียบเหนือตัวแสดงอื่น นอกจากนี้ในเชิงสถาบัน ภายใต้ระบบการวางแผน เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญในการผลิตของบรรษัทขนาดใหญ่มีสอดคล้องกับลักษณะของแผนประสานความร่วมมือฯ ฐานะอภิสิทธิชนของนักธุรกิจในการเข้าถึงรัฐบาลและผลการตัดสินใจที่กระทบต่อผลงานของรัฐบาลจึงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีความได้เปรียบในการกา หนดนโยบาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-12