“ชีวิตที่อยู่ตรงกลาง”: ตำแหน่งพิเศษของชาวไทใหญ่ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ผู้อพยพชาวไทใหญ่, การจัดประเภทผู้อพยพ, ตำแหน่งตรงกลางบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ต้องการค้นหาตาแหน่งของผู้อพยพชาวไทใหญ่ในประเทศไทยที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่าผู้อพยพชาวไทใหญ่มีตาแหน่งพิเศษในสังคมไทยซึ่งเป็นผลมาจากการจัดประเภทผู้อพยพของรัฐบาลที่ละเลยบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสาเหตุทางการเมืองที่ผลักให้คนกลุ่มน้ตี ้องละทิ้งถนิ่ ฐานของตนเองจากรัฐฉานในประเทศเมียนมาร์และมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย หลังจากข้ามพรมแดนมาแล้ว พวกเขาถูกจัดประเภทโดยรัฐบาลไทยให้เป็นแรงงานข้ามชาติ ทา ให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นผู้ที่มีตาแหน่งที่อยู่ตรงกลางหรือมีสถานะก้า กึ่งในสามลักษณะด้วยกันคือ หนึ่ง การอยู่ตรงกลางระหว่างการเป็นผู้ลี้ภัยกับแรงงานข้ามชาติ สอง การเป็นพลเมืองชัว่ คราวของประเทศไทยกับการเป็นผู้ไร้สถานะพลเมืองในประเทศต้นทาง และสาม การเป็นเครือญาติกับคนไทยและการเป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งลักษณะที่โดดเด่นเหล่าน้ขี องคนไทใหญ่ เป็นผลจากการจัดประเภทผู้อพยพของรัฐไทยที่เน้นแต่เรื่องความมัน่ คงและการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่ามิติอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้อพยพ ทาให้เราเห็นถึงปัญหาของการจัดประเภทดังกล่าวและนโยบายของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนกลุ่มน้อี ย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้