การจัดการความรู้ของกองบังคับการปราบปรามเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในบริบทของประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • คณพล อุนะพานัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Kasetsart University, Thailand
  • ณัฐวีณ์ บุนนาค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Kasetsart University, Thailand

บทคัดย่อ

การศึกษาครัง้ นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ของกองบังคับการปราบปราม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในบริบทอาเซียน 2) ศึกษาเปรียบเทียบการจัดการความรู้ดังกล่าวจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านองค์กรกับการจัดการความรู้ของกองบังคับการปราบปรามเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในบริบทประชาคมอาเซียนและ 4) ศึกษาปัญ หาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของกองบังคับการปราบปรามเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในบริบทประชาคมอาเซียน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตารวจกองบังคับการปราบปราม จานวน 303 นายเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทาการวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้ของกองบังคับการปราบปรามเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจ ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในบริบทประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เจ้าหน้าที่ตารวจที่มีเพศ ตาแหน่ง และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในบริบทประชาคมอาเซียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ.05 สา หรับเจ้าหน้าที่ตารวจที่มีอายุ และประสบการณ์การทางานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในบริบทประชาคมอาเซียน ไม่แตกต่างกัน และพบว่า ปัจจัยด้านองค์กรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับ ปานกลาง กับความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจด้านการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมในบริบทประชาคมอาเซียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ปัญหาและอุปสรรค พบว่า การจัดการความรู้ในกองบังคับการปราบปรามประสบปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอ โครงการไม่มีความต่อเนื่อง ไม่มีความชัดเจน ขาดแบบแผนในการดาเนินงาน ทาให้บุคลากรเกิดความสับสน ทางานไม่ไปในทิศทางเดียวกัน บุคลากรไม่สนใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ มองว่าเป็นการเพิ่มภาระ ทาให้ขาดความใส่ใจ ในส่วนของบริบทประชาคมอาเซียนพบว่า บุคลากรมีปัญหาด้านการใช้ภาษา ทัง้ การพูดและการเขียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-12