ความรู้สึกไม่เสียเปรียบในการเป็นสตรี ของนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ทรายทอง เสมอภาค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Kasetsart University, Thailand
  • สมเกียรติ วันทะนะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Kasetsart University, Thailand

คำสำคัญ:

ความรู้สึกไม่เสียเปรียบ, การเป็นสตรี, นิสิตปริญญาโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครัง้ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความรู้สึกไม่เสียเปรียบในการเป็นสตรีของนิสิตระดับปริญญาโท เพศหญิง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความรู้สึกไม่เสียเปรียบในการเป็นสตรี ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตระดับปริญญาโทเพศหญิง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จา นวน 375 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง จึงทาการวิเคราะห์หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ ทั้งนี้โดยกาหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่.05 ผลการวิจัย พบว่าความรู้สึกไม่เสียเปรียบในการเป็นสตรีอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นิสิตที่มี อายุ อาชีพ รายได้ภูมิลาเนา สถาบันที่จบปริญญาตรี จานวนพี่น้อง อาชีพของบิดา และอาชีพของมารดาแตกต่างกัน มีความรู้สึกไม่เสียเปรียบในการเป็นสตรีแตกต่างกัน ส่วนความแตกต่างในเรื่องสถานภาพสมรส และศาสนา ไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างในความรู้สึกไม่เสียเปรียบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-12

How to Cite

เสมอภาค ท., & วันทะนะ ส. (2019). ความรู้สึกไม่เสียเปรียบในการเป็นสตรี ของนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 4(3), 158–163. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/228855