ประเพณีชักพระทางทะเล อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ชักพระทางทะเล, ประเพณี, อำเภอเกาะพะงันบทคัดย่อ
การศึกษาครัง้ น้มี ีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพิธีกรรมในประเพณี ชักพระทางทะเล อาเภอเกาะ พะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีชักพระทางทะเลอาเภอเกาะพะงัน จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยว วิเคราะห์ข้อมูลเป็นความเรียงในลักษณะการพรรณนาความผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของประเพณีชักพระทางทะเล อา เภอเกาะพะงัน จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี เรมิ่ ต้นขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด โดยราว พ.ศ.2475 ได้มีประเพณีชักพระทางทะเลเกิดขึ้นแล้ว โดยมีการจัดงานอยู่ในบริเวณตาบลบ้านใต้ บริเวณอ่าวบ้านใต้ อ่าวบ้านวกตุ่ม และบริเวณอ่าวท้องศาลา จากนั้นการจัดงานได้เรมิ่ เปลี่ยนแปลงเหลือสถานที่จัดงานบริเวณอ่าวท้องศาลาเพียงที่เดียวจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.2538 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมประเพณีชักพระทางทะเลจนถึงปัจจุบัน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถนิ่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดงานประเพณีชักพระทางทะเล 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตาบลเกาะพะงัน เทศบาลตาบลบ้านใต้ และเทศบาลตาบลเพชรพะงัน โดยเทศบาลตาบลเกาะพะงันได้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน ส่งเสริม และอนุรักษ์ประเพณีชักพระทางทะเลโดยการสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนเงินรางวัล รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ประสานขอความร่วมมือในทุกภาคส่วน ส่วนการอนุรักษ์ประเพณีชักพระทางทะเล ของหน่วยงานภาครัฐอื่นในอา เภอเกาะพะงัน ได้แก่ การเข้าร่วมทากิจกรรมในงานประเพณี การให้ความร่วมมือกับชาวบ้านในการจัดงาน และเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงานเพื่อให้งานลุล่วงไปด้วยดี ภาคธุรกิจในอาเภอเกาะพะงันยังมีบทบาทอนุรักษ์ประเพณีชักพระทางทะเล โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณ และกาลังคนให้กับชุมชนในพื้นที่ของตนเอง ขณะที่บทบาทของชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีชักพระทางทะเลโดยปราชญ์ในชุมชนมีการถ่ายทอดภูมิความรู้เกี่ยวกับประเพณีชักพระทางทะเลรวมถึงพิธีกรรมต่างๆ ที่ใช้ในงานประเพณี ในส่วนของผู้นาในชุมชนก็จะมีบทบาทในการชักนาคนในชุมชนให้เห็นความสา คัญของประเพณีท้องถนิ่ และเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในส่วนของชาวบ้านในพื้นที่ก็จะมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆตัง้ แต่การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมจนเสร็จสิ้นกิจกรรม