ความเป็นไปได้ในการเปิดรับนักศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คำสำคัญ:
การศึกษาความเป็นไปได้, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์, ดุษฏีบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทาข้อสรุปผลการวิพากษ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ และเสนอสถานการณ์ที่เหมาะสมของการจัดการการศึกษาในหลักสูตร จากการวิเคราะห์ SWOT แบบวิธีถ่วงน้าหนักตามสภาพจริง รวมถึงการวิจัยเอกสารสา หรับศึกษาจุดเด่นของหลักสูตรด้วยการเปรียบเทียบหลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ตลอดจนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของหลักสูตร สาหรับประชากรและตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และวิเคราะข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาปรากฏว่า การวิพากษ์เพื่อจัดทา ร่างหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ได้รายวิชาทั้งสิ้น 4 หมวด คือ หมวดวิชาหลัก จานวน 12 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ จานวน 15 หน่วยกิต หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่นับหน่วยกิต) และดุษฎีนิพนธ์ จานวน 35 หน่วยกิต รวมเป็น 62 หน่วยกิต โดยมีรายวิชาทัง้ หมด 14 รายวิชา ทัง้ นี้ จากการพิจารณาสถานการณ์ข้อได้เปรียบของหลักสูตร ผู้เรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะการเรียนในหลักสูตรเป็นการเพิ่มพูนทักษะ ความเป็นผู้นาทางวิชาการให้กับผู้เรียน มีคุณธรรม สร้างประโยชน์ให้กับสังคม และเนื่องจากคณะวิทยาการจัดการได้มีการประสานงานและบริการวิชาการกับหน่วยงานราชการในพื้นที่อย่างต่อเน่อื ง จึงเป็นโอกาสในการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในการาสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายที่เน้นผู้เรียนเพิ่มขึ้น และจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรปรากฏว่า การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้มีความคุ้มค่า ทัง้ ทางด้านผลผลิตบัณฑิตและการเงินโดยจะมีการคืนทุนในปีที่ 2 อัตราผลตอบแทนภายใน สูงสุดถึง 95% และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ได้เท่ากับ 13,522,546.38 บาท