คุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนตามความต้องการของผู้บริหาร สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา บูรณเดชาชัย มหาวิทยาลัยบูรพา / Burapha University, Thailand

คำสำคัญ:

คุณลักษณะบัณฑิต, ประชาคมอาเซียน, นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องคุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนตามความต้องการของผู้บริหาสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกในครัง้ นี้เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้บริหารสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานประกอบในนิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม เวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง จา นวน 440 คน โดยใช้วิธีการสมุ่ ตัวอย่างแบบสองขัน้ ตอน แบ่งเป็นชัน้ ด้วยความน่าจะเป็นได้สัดส่วนกับขนาด ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความใฝ่รู้ 2) ความสามารถใช้ภาษา 3) คุณธรรมและจริยธรรม 4) ความรู้ตามวิชาชีพ 5) ความเป็นผู้นา 6) สุขภาพกายและจิตใจ 7) จิตสาธารณะ 8)ศักยภาพทางปัญญา 9) เทคโนโลยีสารสนเทศ 10) สุนทรียารมณ์ และ 11) เจตคติต่อประชาคมอาเซียน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ออกเป็นสองส่วน คือ 1) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย คุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนตามความต้องการของสถานประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก พบว่า คุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านความใฝ่รู้และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลาดับ ส่วนผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันนั้น ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิต สู่ประชาคมอาเซียน ตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก 2 = 36.848, df = 28, p = 0.122, GFI = 0.984, NFI = 0.995, CFI = 0.999, NNFI = 0.998, SRMR =0.017 องค์ประกอบของคุณลักษณะบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนที่มีความสา คัญมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านความรู้ตามวิชาชีพ ( =0.867) รองลงมา คือ องค์ประกอบด้านความเป็นผู้นา ( =0.863) องค์ประกอบด้านจิตสาธารณะ( =0.840) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( =0.837) องค์ประกอบด้านศักยภาพทางปัญญา ( =0.814)องค์ประกอบด้านคุณธรรมและจริยธรรม ( =0.808) องค์ประกอบด้านความใฝ่รู้ ( =0.804) องค์ประกอบด้านความสามารถใช้ภาษา ( =0.692) องค์ประกอบด้านเจตคติต่อประชาคมอาเซียน ( =0.638) และองค์ประกอบด้านสุนทรียารมณ์ ( =0.515) ตามลาดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-11