การพัฒนาตัวแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิต ของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สิริอัตตะกุล สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Political Science Association of Kasetsart University, Thailand
  • ศศิธร จำนงจันทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / Chulalongkorn University, Thailand
  • วิภาสิริ บุญชูช่วย มหาวิทยาลัยมหิดล / Mahidol University
  • สุภาภรณ์ พิมเงิน มหาวิทยาลัยมหิดล / Mahidol University

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต, การจัดการเรียนรู้, วัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และประเมินความต้องการจาเป็นของการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) ศึกษาปัจจัยสนับสนุน ส่งเสริม หรือ เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3) พัฒนาตัวแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ 4) ทดลองใช้ตัวแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มเป้าหมายหลักในการวิจัยครั้งนี้ คือ วัยรุ่นตอนต้น ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่สามารถใช้ภาษามือในการสื่อสาร หรือ อ่านหนังสือได้ และกา ลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโสตศึกษา 1 แห่ง จานวน 25 คน กลุ่มเป้าหมายรองในการวิจัยครัง้ นี้ ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) วัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่สามารถใช้ ภาษามือในการสื่อสาร หรืออ่านหนังสือได้ และกาลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโสตศึกษาทัว่ ประเทศ 10โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน จานวน 50 คน 2) ผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งเคยผ่านประสบการณ์ การเรียนในโรงเรียนโสตศึกษาทัว่ ประเทศ 10 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน จานวน 50 คน 3) พ่อแม่/ผู้ปกครองของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จาก 10 โรงเรียนโสตศึกษาทัว่ ประเทศ โรงเรียนละ 5 คน จานวน 50 คน 4)ครูผู้ปฏิบัติการสอน โรงเรียนโสตศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จาก 10 โรงเรียนโสตศึกษาทัว่ ประเทศ โรงเรียนละ 5คน จานวน 50 คน 5) ผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา/ผู้บริหารระดับสูงของสานักงานบริหารการศึกษาพิเศษ จานวน 15 คน และ 6) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้สา หรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน และผู้เชี่ยวชาญด้าน การจัดการเรียนรู้สา หรับวัยรุ่นตอนต้น จานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired samples ttestผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า มีการสอดแทรกทักษะชีวิต 2 วิธี ได้แก่ การสอดแทรกทางตรง คือ การใช้หลักสูตรโดยเฉพาะเพื่อเน้นในส่วนที่เด็กหูหนวกขาด และสอดแทรกทางอ้อม คือ การสอดแทรกผ่านพ่อแม่, คุณครู หรือผู้ปกครอง และโรงเรียนโดยการจัดโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิต แต่ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรจะต้องประกอบไปด้วยมิติอะไรบ้าง 2) ความต้องการจา เป็นของการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยิน พบว่า ทักษะชีวิตมีความจา เป็นอย่างยงิ่ สา หรับวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยแบ่งทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ การรู้จักตนเอง การจัดการและควบคุมอารมณ์ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ และเมื่อจัดลาดับความสา คัญของการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยพิจารณาจากลาดับความสา คัญมากที่สุด พบว่า การรู้จักตนเองเป็นสิ่งที่จาเป็นมากที่สุด รองลงมา การจัดการและควบคุมอารมณ์ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ ตามลาดับ 3) ปัจ จัยสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า ครูหูดี และครูหูหนวกมีความสา คัญต่อการสง่ เสริมให้วัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินประสบความสา เร็จในการพัฒนาทักษะชีวิต4) อุปสรรคของการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่าการที่วัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินขาดทักษะการใช้ภาษาไทย ทั้งการอ่าน และการเขียน รวมไปถึงการขาดหน่วยงานพัฒนาสื่อการเรียนรู้เฉพาะสา หรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่งผลให้ การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ประสบความสา เร็จ และ 5) ตัวแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ประกอบด้วย การรู้จักตนเองและการจัดการอารมณ์ และผลการทดลองใช้ตัวแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นที่มี ความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า คะแนนทักษะชีวิตหลังการทดลองใช้ตัวแบบมีค่าเฉลี่ยเพมิ่ ขึ้นอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ.01 ในทุกด้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-11