อัตลักษณ์และวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นาระดับตาบลและหมู่บ้าน จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • คัมภีร์ พลการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรนันท์ กลันทปุระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, วัฒนธรรมทางการเมือง, จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครัง้ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์กับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของผู้นาระดับตาบลและหมู่บ้าน จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กานันและผู้ใหญ่บ้าน ใน 10อาเภอ ของจังหวัดตรัง จานวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สา หรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์ เพียร์สัน โดยกาหนดค่านัยสา คัญทางสถิติไว้ที่ระดับ.05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับอัตลักษณ์ของผู้นาระดับตาบลและหมู่บ้าน จังหวัดตรังอยู่ในระดับปานกลาง และระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบปรากฏว่า ปัจ จัยส่วนบุคคลของผู้นาระดับตาบลและหมู่บ้าน จังหวัดตรังในบริบทของเพศอายุ ตาแหน่ง ระดับการศึกษา อาชีพ และประสบการณ์ การทางาน ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ส่วนผู้นาระดับตาบล และหมู่บ้าน จังหวัดตรังที่มีอา เภอที่อาศัยอยู่ ศาสนา สถานภาพ รายได้ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ของคนใต้และวัฒนธรรม ทางการเมือง พบว่าที่ระดับนัยสาคัญ.01 อัตลักษณ์ของคนใต้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับวัฒนธรรมทางการเมืองในระดับน้อย ซึ่งหมายความว่า ผู้นาระดับตาบลและหมู่บ้าน จังหวัดตรังที่มีอัตลักษณ์ความเป็น “คนใต้” ระดับสูงมากขึ้นเท่าไร ก็จะมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยสูงขึ้นเท่านั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้นาระดับตาบลและหมู่บ้านจังหวัดตรังมีความคิดทางการเมืองในลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากกว่าอานาจนิยม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-11