ศักยภาพอาสาสมัครกู้ภัยจังหวัดขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ สีลาโท วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, อาสาสมัครกู้ภัย, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ศักยภาพอาสาสมัครกู้ภัยจังหวัดขอนแก่น ตาบลในเมือง อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และนาข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษากาหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกู้ภัยเพื่อให้เกิดการประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างยัง่ ยืนต่อไป ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลที่สา คัญ 20 ราย ได้แก่ ประธานมูลนิธิขอนแก่นสามัคคีอุทิศ ประธานมูลนิธิจิตกุศล ประธานกู้ภัยตารวจทางหลวงรองประธานและกรรมการมูลนิธิอาสาสมัครกู้ภัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วทาการจัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยวิธีการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติงานอาสาสมัครกู้ภัยต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย การเพมิ่ ความสามารถด้านร่างกายขึ้นอยู่กับการฝึกฝนโดยเน้นย้าให้มีการออกกา ลังกายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพที่ดี อาสาสมัครกู้ภัยต้องมีความรู้เบื้องต้นในภารกิจที่ได้รับมอบหมายศูนย์กู้ภัยมีเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชัว่ โมง อาสาสมัครกู้ภัยต้องรู้จักตนเองซึ่งเป็นรากฐานของการเชื่อมัน่ในตนเอง การเสียสละของเจ้าหน้าที่กู้ภัยเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานของจิตใจที่ดีงามรู้จักการให้มากกว่าการรับการช่วยเหลือ ผู้ได้รับบาดเจ็บให้รอดชีวิตคือกา ลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ความเครียดความกังวลส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่ราบรื่น อาสาสมัครกู้ภัยมีการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นถือเป็นสงิ่ สา คัญ อาสาสมัครกู้ภัยจะต้องมีการประเมินสถานการณ์ มีการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ของอาสาสมัครผู้ชา นาญงาน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา มีทีมปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาและอุปสรรค อุปกรณ์กู้ภัยที่ดีมีคุณภาพผู้ใช้จะเกิดความมัน่ ใจและต้องคานึงถึงความปลอดภัยทุกครั้งที่ใช้ อาสาสมัครกู้ภัยต้องได้รับการฝึกฝนการใช้เครื่องมือช่วยเหลือ ประสบการณ์ช่วยให้สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจเครื่องมือต้องได้รับการเก็บรักษา อย่างถูกวิธี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-11

How to Cite

สีลาโท น. (2019). ศักยภาพอาสาสมัครกู้ภัยจังหวัดขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 4(2), 102–107. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/228622