ศึกษาช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ของไทยสู่ตลาดอาเซียน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ลูกจันทน์เทศแปรรูป อา เภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุธิกาญจน์ แก้วคงบุญ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • สุภาพร ไชยรัตน์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • อิศราพร ใจกระจ่าง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • สุพัตรา คำแหง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • เย็นจิต นาคพุ่ม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • พรประเสริฐ ทิพย์เสวต คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • วิภาวี พันธ์ทอง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

ลูกจันทน์เทศแปรรูป, ช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์, ตลาดอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครัง้ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางการตลาด และประเมินศักยภาพ และศึกษาช่องทางการกระจายสินค้าที่เหมาะสม ของผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เทศแปรรูป จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่ตลาดอาเซียน โดยการศึกษาวิจัย ในครัง้ นี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง กลุ่มให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ผลิตลูกจันทน์เทศแปรรูป ผู้จาหน่ายและหน่วยงานราชการ ผลการวิจัย พบว่า ด้านศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เทศแปรรูป ด้านการตลาด (1) ด้านผลิตภัณฑ์ มคี วามเป็นเอกลักษณ์ของอาหารเฉพาะถนิ่ มีสรรพคุณมากมาย ซึ่งได้รับมาตรฐานสินค้าชุมชน แต่ขาดการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นมาตรฐานได้ (2) ด้านราคา กาหนดราคาขายโดยใช้ต้นทุนเป็นเกณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อความอยู่รอดของกิจการ โดยกา หนดราคาแบบราคาตลาด ทัง้ ราคาขายส่ง และราคาขายปลีก (3) ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย มีการกระจายสินค้าโดยผ่านคนกลาง และขายตรง ช่องทางการจัดจาหน่ายมีน้อย ระบบการขนส่ง ใช้ยานพาหนะของประธานกลุ่ม ระบบสินค้าคงคลัง มีการสต๊อกสินค้า แต่ยังขาดระบบที่ต่อเนื่อง โดยมีการเบิกจ่ายสินค้าด้วยระบบการเข้าก่อน ออกก่อนระบบคลังสินค้า โดยใช้สถานที่ผลิตเป็นสถานที่จัดเก็บสินค้า ซึ่งเป็นบ้านของประธานกลุ่ม (4) การส่งเสริมการตลาด มีการจัดการโฆษณาผ่านสื่อสงิ่ พิมพ์ ผ่านสื่อของรัฐ การประชาสัมพันธ์ โดยให้มีการศึกษาดูงาน การบริจาคเงินทุนเพื่อการศึกษา การส่งเสริมการขาย ด้วยวิธีการแถม มีการจัดแสดงสินค้า และให้ทดลองชิม ด้านการผลิต มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนารูปแบบขึ้น มีการวางแผนการผลิตและสามารถทา ได้ตามแผนที่กาหนด มีการสร้างเครือข่าย วัตถุดิบ โดยสนับสนุนให้มีการปลูกต้นลูกจันทน์เพมิ่ ขึ้น และมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนจาหน่าย ด้านการเงิน ได้มีการจดทะเบียนกลุ่ม เงินลงทุนมาจากการระดมหุ้น และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มมีการบันทึกรายรับ รายจ่าย แต่ไม่ตรงตามมาตรฐานบัญชี โดยผู้บันทึกบัญชีไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้ทางการบัญชีโดยตรง การประเมินศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เทศแปรรูป จุดแข็ง 1. ผลผลิตมีตลอดทัง้ ปี 2. สินค้าได้รับมาตรฐานชุมชน 3. ลูกจันทน์มีสรรพคุณมากมาย โอกาส 1. ความนิยมของชาวต่างชาติในสินค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยซึ่งมีคุณค่าและเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2. รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและ การส่งออกสินค้า OTOP 3.การจัดตัง้ เขตการค้าเสรี ทา ให้ไทยได้รับการลดภาษีนาเข้า OTOP จากไทย ด้านช่องทางการจัดจา หน่ายที่เหมาะสม มี 3 ช่องทาง คือช่องทางที่ 1 จากผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ผ่านผู้นาเข้า ผ่านผู้ค้าส่ง/ผู้จัดจาหน่าย ผ่านโรงแรมต่างๆ ร้านอาหารและศูนย์การค้า ไปยังผู้บริโภค ช่องทางที่ 2 จากผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ผ่านผู้นาเข้า ผ่านผู้ค้าส่ง/ผู้จัดจาหน่ายไปยังผู้บริโภคช่องทางที่ 3 จากผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ผ่านผู้นาเข้า ผ่านผู้ค้าส่ง/ผู้จัดจา หน่าย ผ่านร้านค้าปลีกไปยังผู้บริโภค

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-10