การศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ของผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เทศ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา คำแหง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • เกศกุฎา โกฏิกุล คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • กฤติกา จินาชาญ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ชัญญานุช โมราศิลป์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ภูษณะ พลสงคราม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ลูกจันทร์เทศ, โลจิสติกส์, โซ่อุปทาน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มผู้ผลิต ในมุมมองของผู้บริโภคและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ส่งผลให้เกิดการ ซื้อซ้า 3. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มผู้ผลิต 4. เพื่อรวบรวมสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เทศ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 5 กลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มผู้บริโภค 400 คน ใช้สูตร ของ Cochran กาหนดความคลาดเคลื่อน 0.05 กลุ่มตัวอย่าง เชิงคุณภาพ 100 คน คือ กลุ่มชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้นาชุมชน/เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ การประชุมกลุ่ม วิธีการวิเคราะห์ 1. วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยายด้วยความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเขียนสรุปเพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้คุณภาพมาตรฐานตรงกับความต้องการของผูบริโภค 3. การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอ้างอิง 4. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสรุปผลทา การประชุมผู้เกี่ยวข้องหาแนว ทางการพัฒนาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ให้ได้คุณภาพมาตรฐานและสามารถขยายตลาดได้ในมุมกว้าง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์องค์ประกอบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานกับความพึงพอใจ การเป็นแหล่งผลิตทาให้มี การพัฒนาชุมชนและมีความพึงพอใจต่อการจัดการโลจิสติกส์ในระดับปานกลาง กลุ่มผู้ประกอบการพึงพอใจในระดับมากกลุ่มผู้นาชุมชนมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นด้านความพร้อมและแนวทางการพัฒนาการของผู้บริโภค ความพึงพอใจต่อองค์ประกอบเกือบทุกด้านอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มชุมชนเสนอควรจัดการโลจิสติกส์ให้ดีขึ้น และให้มีการพัฒนาพัฒนาที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น และเพมิ่ ช่องทางการจัดจาหน่าย ที่หลากหลายและการสร้างกลุ่มผู้ผลิตที่เข้มแข็งเพื่อสร้างความยัง่ ยืนในการจา หน่ายและขยายตลาดสู่สากล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-10