การบรรเลงกลองในวงดนตรีมังคละ: กรณีศึกษา วง ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์ อาเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • วรจักษ์ ชาวด่าน นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุพจน์ ยุคลธรวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษย์ศาสตร์ ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

มังคละ, ดนตรีมังคละ, วงปี่กลอง, เบญจดุริยางค์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ของดนตรีมังคละ วง ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์ อาเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และ 2. ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการบรรเลงกลองของวง ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์ อาเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย วงดนตรีมังคละเดิมเรียกว่า “วงปี่กลอง” มีรูปแบบการบรรเลงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยมีพัฒนาการและรูปแบบของดนตรี ซึ่งมีรากฐานเช่นเดียวกับ “เบญจดุริยางค์” ในอินเดียที่แพร่กระจายเข้ามาในแถบเอเชีย ซึ่งประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมดนตรีเข้ามา การบรรเลงกลองในวงดนตรีมังคละ วง ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์ อาเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พบว่าได้มีการสืบทอดต่อกันมาเป็นจานวน 3 รุ่นจนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับเปลี่ยนทั้งในด้านการผสมวงดนตรี การใช้เครื่องดนตรี และจานวนบทเพลง ดนตรีมังคละมีบทบาทสาคัญในสังคม กล่าวคือได้ถูกนาไปบรรเลงเพื่อความบันเทิง และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-10