การวิเคราะห์วาทกรรมชาตินิยมไทยในแบบเรียนสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย สุขคะตะ นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐวีณ์ บุนนาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ชาตินิยมไทย, ชาตินิยมในแบบเรียนสังคมศึกษา, ชาตินิยมในแบบเรียนประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมชาตินิยมไทยในแบบเรียนสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมชาตินิยมไทยในแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์จากเอกสาร แบ่งเป็น การวิเคราะห์ตัวบท และการวิเคราะห์ปฏิบัติการทางวาทกรรม วิเคราะห์แบบเรียนสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ สาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตามแนวคิดชาตินิยมไทย ที่พัฒนาโดย สายชล สัตยานุรักษ์ ซึ่งแบ่งชาตินิยมไทยออกเป็นสี่ด้านได้แก่ เชื้อชาติ พระมหากษัตริย์ ศาสนา และวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่าเนื้อหาในแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ของระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สะท้อนความพยายามของรัฐในการสร้างความรู้สึกชาตินิยมไทยโดยให้ความสาคัญกับชาตินิยมไทย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเชื้อชาติ เน้นความสามัคคี การสืบทอดของเชื้อชาติ ความฉลาดของเชื้อชาติ การรู้จักปรับตัวและรู้จักเสียสละ ด้านสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเน้นความสาคัญของสถาบันดังกล่าวกับเอกราช การสร้างคุณประโยชน์ด้านการกินดีอยู่ดีตามยุคสมัยและการเป็นศูนย์รวมจิตใจ ด้านวัฒนธรรม เน้นความเหนือกว่าของวัฒนธรรมของกลุ่ม การรู้จักปรับตัว ความคู่ควรแก่การอนุรักษ์ และวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับ ส่วนด้านพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงอย่างเด่นชัด แต่พูดรวมๆ อยู่ในประเด็นชาตินิยมด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเป็นพระราชภารกิจสาคัญประการหนึ่ง เนื่องจากต้องการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลการวิจัยภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม พบว่าแบบเรียนมีการเลือกเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว โดยที่ไม่ให้ความสาคัญกับเชื้อชาติอื่น สถาบันอื่น และวัฒนธรรมอื่น ทั้งที่ในสังคมไทยนั้นมีการรวมอยู่ของหลายเชื้อชาติ หลายสถาบัน และหลายวัฒนธรรม ทั้งนี้อาจเพื่อตอบสนองความจาเป็นของรัฐ ส่งเสริมการสร้างรัฐไทยสมัยใหม่ลักษณะที่เหนือกว่าและมีความเป็นพิเศษของ “ความเป็นไทย” จึงถูกแสดงออกมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผสมกลืนกลายทางวัฒนธรรมและการสร้างเอกราชแห่งชาติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09