การประเมินผลการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตร ตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การประเมินผล, โครงการพัฒนาการเกษตร, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประเมินผลการฝึกอบรมเกษตรภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อศึกษาความเชื่ออานาจควบคุม ความเชื่อประสิทธิภาพแห่งตน ความคาดหวังผลลัพธ์ คุณค่าการทางาน เหตุผลของการเรียนรู้ การมีอิสระและควบคุมตนเองได้ การมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับชีวิต การมีความพร้อม ความสนใจเรียนรู้ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหา และแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ ซึ่งเป็นตัวแปรย่อยของแรงจูงใจในการเรียนรู้ และลักษณะการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ที่มีผลต่อการประเมินผลด้านปฏิกิริยา 3) เพื่อศึกษาความเชื่ออานาจควบคุม ความเชื่อประสิทธิภาพแห่งตน ความคาดหวังผลลัพธ์ คุณค่าการทางาน เหตุผลของการเรียนรู้ การมีอิสระและควบคุมตนเองได้ การมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับชีวิต การมีความพร้อม ความสนใจเรียนรู้ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหา และแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ ที่มีผลต่อการประเมินผลด้านการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความต้องการปรับปรุงตนเอง ความเต็มใจยอมรับข้อบกพร่อง การทางานในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การมีคนช่วยปรับปรุงการทางาน และโอกาสที่จะนาความรู้ไปใช้ ซึ่งเป็นตัวแปรย่อยของเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่มีผลต่อการประเมินผลด้านพฤติกรรม 5) เพื่อศึกษาการประเมินผลด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ และด้านพฤติกรรมที่มีผลต่อการประเมินผลด้านผลลัพธ์ ตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่ฝึกอบรมในโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสมุทรสงคราม ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2555 จานวน 310 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกาหนดค่านัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการเรียนรู้ ลักษณะการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม การประเมินผลด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ความสนใจเรียนรู้ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหา ความเชื่ออานาจควบคุม การมีอิสระและควบคุมตนเองได้ การมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับชีวิต และคุณค่าการทางานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลต่อการประเมินผลด้านปฏิกิริยา โดยเป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 45.00 2) ความสนใจเรียนรู้ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหา ความคาดหวังผลลัพธ์ และการมีอิสระและควบคุมตนเองได้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลต่อการประเมินผลด้านเรียนรู้ โดยเป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 35.00 3) ความต้องการปรับปรุงตนเอง การมีคนช่วยปรับปรุงการทางาน และความเต็มใจยอมรับข้อบกพร่องของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลต่อการประเมินผลด้านเรียนรู้ โดยเป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 52.00 4) การประเมินผลด้านพฤติกรรม และการประเมินผลด้านการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลต่อการประเมินผลด้านผลลัพธ์ โดยเป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์การประเมินผลด้านปฏิกิริยาได้ร้อยละ 30.00