ความคิดเห็นต่อการรัฐประหารของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ชวดล ใจซื่อสมบูรณ์ นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมเกียรติ วันทะนะ รองศาสตราจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การรัฐประหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการรัฐประหารของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จานวน 283 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยมีค่านัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการรัฐประหารของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลทาให้ความคิดเห็นของนิสิตแตกต่างกันคือ เพศ ปัจจัยที่ไม่มีผลทาให้ความคิดเห็นของนิสิตแตกต่างกันคือ อายุ สถานที่เกิด อาชีพ และรายได้ ส่วนความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ผกผันกับความคิดเห็นต่อการรัฐประหารของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-07

How to Cite

ใจซื่อสมบูรณ์ ช., & วันทะนะ ส. (2019). ความคิดเห็นต่อการรัฐประหารของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 4(1), 79–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/228231