ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทย เชื้อสายโปรตุเกส: กรณีศึกษาชุมชนวัดซางตาครู้ส ย่านกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความสืบเนื่องทางวัฒนธรรม, การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม, ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส, ชุมชนซางตาครู้ส ย่านกุฎีจีนบทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทย เชื้อสายโปรตุเกส: กรณีศึกษาชุมชนซางตาครู้ส ย่านกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร (ยุครัตนโกสินทร์) มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เงื่อนไขทางสังคมที่มีผลต่อความสืบเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงของชุมชนซางตาครู้ส จากการศึกษาพบว่า ชุมชนวัดซางตาครู้ส มีความน่าสนใจในการเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นชุมชนที่นาเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านพิธีกรรมและวัฒนธรรม ที่โดดเด่นกว่าชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ และวัดกาลหว่าร์ ทั้งนี้วัฒนธรรมของชาวชุมชนวัดซางตาครู้ส ย่านกุฎีจีน มีความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคมของประเทศไทยและสังคมโลก เงื่อนไขทางสังคมที่ทาให้เกิดความสืบเนื่องทางวัฒนธรรมโปรตุเกสในประเทศ คือ 1. ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน 2. การที่ศาสนาคริสต์ สามารถสร้างความเป็นศูนย์รวมของชาวไทย เชื้อสายโปรตุเกส และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่นับถือศาสนาคริสต์ ในแง่ของการสืบทอดทางพิธีกรรม เช่น พิธีถอดพระ ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และการปลูกสร้างศาสนสถานให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวคริสต์ ในละแวกวัดซางตาครู้ส ย่านกุฎีจีน 3. กระแสชุมชนท้องถิ่น ตั้งแต่ทศวรรษ 2540 ทาให้เกิดการนาเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมโปรตุเกส ในประเทศไทยให้เด่นชัดขึ้น ในขณะเดียวกัน บริบทของสังคมโลกในช่วงเวลานี้ เกิดความพยายาม ในการค้าข้ามพรมแดน ระหว่างทวีปยุโรปและเอเชีย ส่งผลให้ประเทศไทย และโปรตุเกส ดาเนินความสัมพันธ์ภายใต้ข้อตกลงทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรี นาไปสู่ความร่วมมือทางการค้า ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวโปรตุเกสในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคมดังนี้ 1. สภาพทางภูมิศาสตร์ประเทศไทย และพืชพันธุ์ธัญญาหารในไทย ส่งผลต่อการปรุงอาหารและ ขนมของชาวโปรตุเกส ให้แตกต่างจากรูปแบบดั้งเดิมในประเทศโปรตุเกส 2. นโยบายของรัฐไทย ที่ทาให้ชาวโปรตุเกส เข้ามาอยู่ในระบบมูลนายไพร่ ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ และการทาให้ชาวโปรตุเกส มีสถานะเป็นพลเมืองไทย ผ่านระบบทะเบียนราษฎร์ การมีนามสกุลแบบไทย และอยู่ภายใต้ระบบการศึกษาไทย 3. เงื่อนไขการปรับตัวของศาสนาคริสต์ ภายหลังการสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2508) เพื่อให้ศาสนาคริสต์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมท้องถิ่นไทย