ปัจจัยแห่งความสาเร็จและผลกระทบต่อการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย กรณีโครงการท่าเรือนาลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพเมียนมาร์

ผู้แต่ง

  • รดา สิริสายพิรุณ นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ท่าเรือน้าลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยแห่งความสาเร็จและผลกระทบด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ต่อประเทศไทย กรณีโครงการพัฒนาท่าเรือน้าลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภูมิภาคที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ที่จะร่วมกันสนับสนุนให้โครงการประสบความสาเร็จ โดยในส่วนการศึกษาปัจจัยแห่งความสาเร็จ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในลักษณะเฉพาะเจาะจงผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการฯ ได้แก่ ผู้บริหาร ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการกาหนดนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และกรมเจ้าท่า) ผู้ประกอบการผลิตเพื่อส่งออก และผู้ประกอบการให้บริการด้านโลจิสติกส์ จานวนทั้งสิ้น 23 คน ขณะที่ ในส่วนผลกระทบด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ต่อประเทศไทย ใช้วิธี 1) จัดทาตัวแบบการคานวณต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์เปรียบเทียบระหว่างเส้นทางดั้งเดิม กรณีไม่มีโครงการพัฒนาท่าเรือน้าลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย คือ จากท่าเรือแหลมฉบัง ผ่านท่าเรือสิงคโปร์ ไปยังท่าเรือเชนไนของประเทศอินเดีย และเส้นทางใหม่ที่เกิดจากการพัฒนาโครงการฯ โดยการขนส่งสินค้าทางบก ผ่านชายแดนไทยที่กาญจนบุรี ไปยังท่าเรือทวาย เพื่อส่งต่อทางเรือไปยังท่าเรือเชนไน ประเทศอินเดีย เช่นกัน โดยใช้ตัวแบบตามวิธีการ activity-based costing (ABC) ทาการคานวณต้นทุนค่าขนส่งและโลจิสติกส์ตามกิจกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ซึ่งเส้นทางเดิมจะใช้ค่าบริการจริงในการคานวณ ส่วนเส้นทางใหม่จะใช้สมมุติฐานค่าบริการของท่าเรือย่างกุ้ง สหภาพเมียนมาร์ เพื่อจาลองเปรียบเทียบว่าเส้นทางใหม่จะช่วยลดต้นทุนขนส่งได้หรือไม่ และวิธีที่ 2) จัดทาการสัมภาษณ์เชิงลึกในลักษณะ Focus group ของผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการฯ ในกลุ่มตัวอย่างที่ได้กล่าวแล้วในส่วนของการศึกษาปัจจัยแห่งความสาเร็จ จากการศึกษาในส่วนปัจจัยสาคัญที่มีผลกระทบต่อความสาเร็จของโครงการฯ พบว่า ความสนใจของผู้ประกอบการต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมทวาย เป็นปัจจัยที่กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์มองว่ามีความสาคัญมากที่สุด เพราะผู้ประกอบการต่างชาติมีศักยภาพและความน่าเชื่อถือ สามารถดึงดูดนักลงทุนรายอื่นๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น สาหรับด้านความเป็นประชาธิปไตย ระบอบการปกครอง ความน่าเชื่อถือของระบบการเงินและการคลัง การปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ คือปัจจัยที่กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่ามีความสาคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่จะทาให้โครงการพัฒนาดังกล่าวประสบผลสาเร็จ ในส่วนการจัดทาตัวแบบคานวณต้นทุน เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ต่อประเทศไทย พบว่า การขนส่งสินค้าด้วยเส้นทางปัจจุบันในกรณีที่ไม่มีโครงการฯ คือ จากกรุงเทพฯ-ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือสิงคโปร์ ผ่านช่องแคบมะละกา ไปสู่ท่าเรือเชนไน ประเทศอินเดีย มีราคาถูกกว่า การขนส่งสินค้าด้วยเส้นทางใหม่ คือ ขนส่งจากกรุงเทพฯ-จ.กาญจนบุรี-ท่าเรือทวาย สหภาพเมียนมาร์-ท่าเรือเชนไน ประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการขนส่งด้วยเส้นทางใหม่จะมีราคาสูงกว่าเส้นทางเดิม แต่ถ้าเทียบกับระยะทางที่สั้นกว่าของเส้นทางใหม่ ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่ง เส้นทางใหม่จึงเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์สาหรับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็ว นอกจากนั้น หากโครงการพัฒนาทวายเสร็จสมบูรณ์และมีการแข่งขันด้านการค้า รวมถึง การบริหารจัดการด้านการขนส่งสินค้าเที่ยวเปล่ามีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ต้นทุนลดด้านการขนส่งลดลง จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกอบการผลิตเพื่อส่งออก ผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมถึงส่วนราชการที่กาหนดนโยบาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าเส้นทางปัจจุบันได้เปรียบกว่า ทั้งในด้านต้นทุน ความสะดวก ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ เพราะเส้นทางปัจจุบันมีมาตรฐานดี ผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ ทั้งท่าเรือ ผู้ให้บริการในท่าเรือ ศุลกากร มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ มีสายเรือให้เลือกใช้บริการหลายราย และเนื่องด้วยใช้การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ซึ่งราคาถูกกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ ทาให้ค่าใช้จ่ายเส้นทางปัจจุบันโดยรวมมีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม งานวิจัยฉบับนี้มีข้อเสนอแนะว่า หากโครงการท่าเรือน้าลึกทวายสาเร็จลุล่วงจะสามารถช่วยลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังตลาดทางฝั่งตะวันตกของภูมิภาคโดยไม่ต้องเสียเวลาอ้อมช่องแคบมะละกา ซึ่งเริ่มมีความหนาแน่นในการจราจร รัฐบาลไทยจึงควรเร่งให้ความร่วมมือกับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์เพื่อให้โครงการสาเร็จตามเป้าหมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเชื่อมโยงกับโครงการทวาย โดยการพัฒนาระบบขนส่งทางบก ทั้งทางถนน และทางรถไฟ จาก กทม. เชื่อมต่อไปยังโครงการฯ ผ่านด่านชายแดนที่จังหวัดกาญจนบุรีให้มีประสิทธิภาพตามแผนการสนับสนุนอย่างแท้จริง จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยในที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-30