แรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิยธิดา กวินภัทรเวช

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของลักษณะทางประชากรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจานวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ ค่าสถิติ t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า พนักงานฝ่ายผลิตมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยในด้านคุณภาพการผลิตมากที่สุดรองลงมาคือ การใช้ระยะเวลาการผลิต และวิธีการผลิต ตามลาดับ ผลการทดสอบสมตติฐานพบว่า 1) อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ปัจจัยแรงจูงใจภายใน ได้แก่ ผลสาเร็จในการปฏิบัติงาน การมีอานาจในหน้าที่ การมีส่วนร่วมในงาน โอกาสในความก้าวหน้า และลักษณะของงานที่ท้าทาย และปัจจัยแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ นโยบายและการบริหาร การพัฒนาฝึกอบรม การเลื่อนตาแหน่งงาน เทคโนโลยีที่ทันสมัย และความปลอดภัยในการทางาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-30

How to Cite

กวินภัทรเวช ป. (2019). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 3(1), 261–282. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/227374