สายสัมพันธ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับเจ้าพระยานคร (น้อย)

ผู้แต่ง

  • กนกชน พัฒนถาบุตร นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ รองศาสตราจารย์ และ ภาคีสมาชิก สานักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน

คำสำคัญ:

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, เจ้าพระยานคร (น้อย), เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนาประเด็นทางประวัติศาสตร์เรื่องสายสัมพันธ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเจ้าพระยานคร (น้อย) มาทาการศึกษาในทางรัฐศาสตร์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีผลต่อการเมืองในระดับท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราชหรือในระดับของรัฐบาลกลางหรือไม่หลังสิ้นยุคสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชลงในปี พ.ศ.2325 ความสัมพันธ์ทางสายเลือดของบุคคลสาคัญทั้งสองเป็นอุปสรรคต่อการดาเนินชีวิตและการรับราชการของเจ้าพระยานคร (น้อย) อย่างไรบ้าง ผลในการวิจัยเชิงลึกพบว่าความสัมพันธ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเจ้าพระยานคร (น้อย) ที่เกิดขึ้นมานั้นมีเส้นทางสายสัมพันธ์ของพ่อ-ลูกในรูปแบบลับๆ โดยวิธีการส่งผ่านสายสัมพันธ์นี้ต่อมายังบุคคลอื่นๆ อีกดังต่อไปนี้ เจ้านคร (หนู) เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ผู้เป็นตาของเจ้าพระยานคร (น้อย) เจ้าพระยานคร (พัฒน์) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชผู้เป็นบิดาทางการของเจ้าพระยานคร (น้อย) และเจ้าจอมปรางหรือต่อมาคือท่านผู้หญิงปราง ผู้เป็นมารดาของเจ้าพระยานคร (น้อย) กล่าวคือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นผู้เริ่มแนวคิดในการวางนโยบายส่งพระโอรสไปครองเมืองนครศรีธรรมราชหัวเมืองเอกของทางปักษ์ใต้ โดยวิธีการพระราชทานเจ้าจอมปรางที่มีครรภ์กับพระองค์แล้วสองเดือนไปให้เจ้าพัด ผู้เป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ทรงตั้งเมืองนครศรีธรรมราชให้โดดเด่นมีฐานะเทียบเท่าเมืองประเทศราช เพื่อรองรับการเกิดของพระโอรสในครรภ์เจ้าจอมปรางพร้อมกับแต่งตั้งเจ้านครผู้เป็นบิดาของเจ้าจอมปรางเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพระราชอาณาจักรโดยพระราชวงศ์ใหม่เป็นพระราชวงศ์จักรีวงศ์ เมืองนครศรีธรรมราชได้รับผลกระทบทางการเมืองโดยตรงในทุกด้าน แต่กระนั้นนโยบายที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้วางไว้ก่อนสิ้นรัชกาลก็ได้ดาเนินการต่อไปมาจนสาเร็จ เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้เป็นเมืองนครศรีธรรมราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จากการอุปถัมภ์ค้าจุนด้วยความสัมพันธ์ของชนชั้นนาในเครือข่ายเก่าๆ ของสายสัมพันธ์ ‘กรุงธนบุรี-นครศรีธรรมราช-จักรีวงศ์’ เชื่อมโยงกันเป็นเครือญาติจนแยกไม่ออกในภายหลัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-30

How to Cite

พัฒนถาบุตร ก., & วงศ์สุรวัฒน์ โ. (2019). สายสัมพันธ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับเจ้าพระยานคร (น้อย). สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 3(1), 245–260. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/227372