กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กฤตยภรณ์ ตันติเศรษฐ นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สินค้าทางวัฒนธรรม, อุตสาหกรรมวัฒนธรรม, การทาให้เป็นสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร บทความและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เชิงวัฒนธรรมของงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ที่อยู่ภายใต้ความเชื่อ ความศรัทธาตามแนวพระพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งจัดเป็นวัตถุดิบทางวัฒนธรรมที่สาคัญและแฝงอยู่ในเรื่องเล่าตามแนวพุทธชาดกที่ว่า การสร้างแสงสว่างเป็นทาน ที่มุ่งหวังในการถวายเทียนพรรษาเพื่อสร้างบุญกุศลแก่ตนเองและครอบครัว โดยใช้แนวคิดกระบวนการทาให้เป็นสินค้าของสานักมาร์กซิสต์ในการวิเคราะห์เชื่อมโยงกับทุนวัฒนธรรมเพื่อศึกษาการเกิดกระบวนการกลายเป็นสินค้า ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมของงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะแตกต่างตามยุคสมัยซึ่งมีความสอดรับกับโครงสร้างและบริบททางสังคมไทยในขณะนั้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-18

How to Cite

ตันติเศรษฐ ก. (2019). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 3(1), 137–150. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/225691