การจัดการโซ่อุปทานส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • อุษณี จิตติมณ อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การจัดการโซ่อุปทาน, ส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาท

บทคัดย่อ

ส้มโอเป็นสินค้าที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจติดลาดับ 1 ใน 10 ของผลไม้ส่งออกของไทยและประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถปลูกได้ผลผลิตดีมีคุณภาพของโลก การส่งออกมีตลาดการส่งออกมากที่สุดคือประเทศฮ่องกง รองลงมาคือประเทศจีนมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 48.10 ล้านบาท และ 44.29 ล้านบาท ส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาทเป็นส้มโอสายพันธุ์ที่มีความสาคัญเชิงการค้า และเป็นจังหวัดที่มีผลผลิต พื้นที่การเพาะปลูกมากที่สุดในสายพันธุ์ดังกล่าวของประเทศไทย อีกทั้งยังได้รับโอกาสในการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ทะเบียนเลขที่ สช 49100007 จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ อันเป็นการรับรองถึงคุณลักษณะเฉพาะที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น บทความนี้ศึกษาโครงสร้างปัจจุบันของโซ่อุปทานส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาทตั้งแต่ต้นน้า กลางน้า จนถึงปลายน้า วิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกร 41 ราย ผู้รวบรวม และคนกลางประเภทอื่นๆ 2 ราย ผู้ค้าปลีก 7 รายและผู้ส่งออก 1 ราย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบโซ่อุปทานส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาทมี 2 รูปแบบคือ โซ่อุปทานแบบดั้งเดิม และโซ่อุปทานรูปแบบใหม่พบได้จากการปรับตัวของเกษตรกรที่มีการผลิตและกระจายสินค้าสู่ห้างสรรพสินค้า และส่งออกมากขึ้น นอกจากการขายโดยตรงและขายให้ผู้รวบรวมแบบเดิม ในส่วนของปัญหาพบว่าภาคส่วนของเกษตรกร คนกลางและ ผู้ส่งออกมีปัญหาจากความผันผวนของปริมาณผลผลิตทาให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของผู้บริโภคไปจนถึงผู้ส่งออกอันเนื่องจากเป็นเกษตรกรรายย่อย มีการรวมตัวแบบโซ่หลวมๆ หรือโซ่อิสระ ข้อเสนอแนะทุกภาคส่วนประกอบด้วยรัฐบาล กลุ่มชมรมควรมีการปรับตัวและสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยง เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขันขึ้นรองรับเปิดตลาดใหม่ในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-18