ตัวแบบการบริหารความเสี่ยง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ตัวแบบ, การบริหารความเสี่ยง, มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ตัวแบบการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยงและการดาเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยงกับการดาเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย และ 3) ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย 4) นาเสนอตัวแบบการบริหารความเสี่ยงสาหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม ซึ่งใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นหลักในการศึกษาวิจัย โดยใช้แบบสอบถามตัวอย่างจานวน 282 คน และนาการวิจัยเชิงคุณภาพมาเสริมโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอธิการบดีและผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารความเสี่ยง จานวน 10 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยงและการดาเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยงกับการดาเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย โดยภาพรวมพบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ระหว่าง .407-585 และเป็นความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยง ด้านนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง (X1) ด้านวัฒนธรรมองค์การ (X4) ด้านภาวะผู้นา (X3) และด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (X8) ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย โดยภาพรวมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ Ytot = 1.243 + .304 (X1) + .175(X4) + .134(X3) + .089 (X8) 4. ตัวแบบการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นตัวแบบ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง 2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ 3) ปัจจัยด้านภาวะผู้นา และ 4) ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร