ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทย

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร อาจารย์ ภาควิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สถาบันทางการเมือง, รัฐสภา, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทย” มุ่งตอบคาถามถึง ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทยช่วงระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมาว่ามีลักษณะอย่างไร และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสาคัญต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยคืออะไร ซึ่งได้อาศัยแนวคิดเรื่องวงจรอุบาทว์มาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ผลของการวิเคราะห์พบว่า ตลอดระยะเวลา 8 ทศวรรษที่ผ่านมาของไทยนั้นได้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองมาโดยตลอด กล่าวคือ ผ่านการปฏิวัติ การรัฐประหาร และการกบฏ ซึ่งทุกครั้งล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันรัฐสภาไทย เพราะการจัดการปัญหาด้วยเครื่องมือทางการทหารได้ทาให้เกิดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง กล่าวคือ มีการล้มรัฐธรรมนูญและรัฐสภาไปพร้อมๆ กัน และแม้จะเกิดวงจรอุบาทว์ใหม่ก็ตาม ก็จะเห็นว่าเสถียรภาพของรัฐสภาก็ขาดความมั่นคงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุนที่เข้ามาใช้รัฐสภาเป็นทางผ่านเพื่อนาไปสู่การแปลงธุรกิจทุจริตให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน กับการใช้อานาจรัฐที่ถือครองอยู่ การพัฒนารัฐสภาไทยให้มีสถานภาพความเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งจึงต้องเริ่มจากประชาชนในฐานะพลเมืองที่พร้อมจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในทางตรงและทางอ้อม และรวมถึงการปฏิรูปทางการเมืองในด้านอื่นๆ เช่น การออกแบบระบบการเมืองที่ลดอิทธิพลของกลุ่มทุน การกระจายอานาจให้คืนสู่ท้องถิ่น การปรับโครงสร้างของระบบราชการให้มีขนาดและสมรรถนะอย่างเหมาะสม และสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-18

How to Cite

จิตรเหล่าอาพร ช. (2019). ความเป็นสถาบันทางการเมืองของรัฐสภาไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 3(1), 33–44. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/225670