ตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการชาระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, ระบบการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “ตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษากระบวนการที่มีผลต่อการบริหารจัดการระบบการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 3) เพื่อนาเสนอตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย สาหรับระเบียบวิธีการวิจัยนั้นใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mix Method) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ประกอบการ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มตลาดการเงิน กลุ่มขนส่งสาธารณะ กลุ่มผู้ค้าปลีกรายย่อย กลุ่มประกันภัย/ประกันชีวิต กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มสื่อ รวมทั้งบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ทางานอยู่ในธนาคารแห่งประเทศไทย นักวิชาการ สาหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นใช้ Correlation, Multi- Regression เพื่อให้ได้ Math Model ที่สามารถพยากรณ์อิทธิพลของปัจจัยตัวแปรต่างๆ ให้มีความถูกต้อง สอดคล้องและเหมาะสม สาหรับผลการวิจัยนั้น พบว่า ตัวแปรต้นทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบชาระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 84.60 และสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการชาระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 79.90 รวมทั้งจากการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่า ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Beta = 0.365) ด้านการบริหารจัดการ (Beta = 0.223) ด้านการจัดการความรู้ (Beta = 0.181) ด้านภาวะผู้นา (Beta = 0.154) ด้านความโปร่งใส (Beta = 0.094) ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง (Beta = 0.073) และด้านความรับผิดชอบ (Beta = 0.062) ตามลาดับโดยผลการวิเคราะห์ได้สมการถดถอยแบบพหุคูณ เพื่อพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการชาระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดังนี้ E = 0.198 + 0.365 IT + 0.223 M + 0.181 K + 0.154 L + 0.094 T + 0.073 R + 0.062 A ซึ่งตัวแบบดังกล่าวนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถนาไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทขององค์การเพื่อพัฒนาระบบการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป