กฎบัตรอาเซียนกับความก้าวหน้า ในกลไกการจัดการความขัดแย้งเรื่องดินแดน

ผู้แต่ง

  • เหมือนฝัน แต่งตั้ง นิสิต หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลไกการจัดการความขัดแย้ง, อาเซียน, กฎบัตรอาเซียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการและประสิทธิภาพของกลไกการจัดการความขัดแย้งของอาเซียนหลังจากการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน ผลการศึกษาพบว่า กฎบัตรอาเซียนซึ่งได้รับการประกาศใช้ในปี ค.ศ.2008 นั้น ส่งผลให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล หลักการหรือมาตราต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในกฎบัตรย่อมมีผลผูกพันที่ชาติสมาชิกต้องเคารพและปฏิบัติตาม เช่นเดียวกันในด้านการจัดการข้อพิพาทในเรื่องดินแดนนั้น อาเซียนได้มีการพัฒนากลไกการจัดการข้อพิพาทเรื่อยมา ได้แก่การเจรจาทวิภาคี การมีกลไกที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อย่างไรก็ตามกลไกที่มีนั้นก็ยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการข้อพิพาท กฎบัตรอาเซียนนับเป็นก้าวสาคัญที่ช่วยพัฒนากลไกการจัดการความขัดแย้งนี้ให้มีแนวทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ดีสถานการณ์ในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่าพัฒนาการของกลไกการจัดการความขัดแย้งนี้ก็ไม่ใช่หลักประกันว่า กลไกการจัดการความขัดแย้งที่ได้รับการพัฒนานี้จะมีบทบาทที่มากขึ้นในการจัดการความขัดแย้ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-16

How to Cite

แต่งตั้ง เ. (2019). กฎบัตรอาเซียนกับความก้าวหน้า ในกลไกการจัดการความขัดแย้งเรื่องดินแดน. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 2(2), 15–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/225509