การจัดการความขัดแย้งในการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ทุ่งเลี้ยงสัตว์หนองพลับ ตาบลพรุไทย อาเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • สุจารีย์ วิชัยดิษฐ นักศึกษาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการความขัดแย้ง, ที่ดินสาธารณะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐในการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐ และหาข้อสรุป ข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการแก้ปัญหาใช้ที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเลี้ยงสัตว์หนองพลับ ทาการศึกษาข้อมูลจากเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตาบลพรุไทย และประชาชนผู้ทากินในเขตพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเลี้ยงสัตว์หนองพลับ จานวน 90 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งเลี้ยงสัตว์หนองพลับเดิมเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ ไม่มีหลักฐานที่ดิน ประชาชนจึงเข้าไปจับจองทาการเกษตร มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 ต่อมา อบต. ได้ทาการสารวจแนวเขตเพื่อจะกันพื้นที่ไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ จานวน 600 ไร่ และส่วนที่เหลือจะออกเอกสารสิทธิ์ทากินให้แก่ชาวบ้าน ปรากฏว่าชาวบ้านในพื้นที่ไม่ยอมให้ทาการรังวัด เนื่องจากบริเวณที่กันไว้จะทาให้ชาวบ้านบางคนต้องเสียสิทธิ์ในการทากิน ทุกคนต่างต้องการหลักฐานที่ดิน จึงได้รวมกลุ่มร้องเรียนผู้เกี่ยวข้องผ่านอาเภอเพื่อหาแนวทางออกหลักฐานการทากินในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการบุกรุกที่ดินสาธารณะประโยชน์แปลงดังกล่าว น่าจะเกิดมาจากความไม่ชัดเจนของที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างเปล่าทาให้ชาวบ้านจึงเข้าจับจองเป็นพื้นที่ทากิน และหน่วยงานภาครัฐก็ทราบมาโดยตลอดว่ามีชาวบ้านบุกรุกเข้าทากินในที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้ดาเนินการใดๆ ทาให้ได้รับการคัดค้านและต่อต้านการดาเนินการจากชาวบ้านที่ทากินบนพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะต้องหาวิธีการหรือแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และอาจเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เมื่อภาครัฐเข้าดาเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากชาวบ้านมีความเข้าใจว่าที่ดินแปลงนี้เป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยที่ไม่ต้องออกเอกสารสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น และบางส่วนเข้าใจว่าหากตนเองได้ครอบครองที่ดินทากินเป็นเวลาหลายสิบปี จะสามารถยื่นขอครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-16