วิถีชุมชนคนเลี้ยงวัว จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษา อาเภอพระแสง และอาเภอเวียงสระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
เครือข่ายของการเล่นกีฬาวัวชน, ผลกระทบต่อวิถีชีวิตการเล่นกีฬาวัวชนบทคัดย่อ
รูปลักษณ์ของวัวดี จะต้องมีหู ตาเล็ก หางร่วง หมอยดก คิ้วหนา หน้าสั้น เขาใหญ่ ลูกไข่ช้อนไปข้างหน้า โดยเฉพาะจะต้องมีคร่อมอกใหญ่ บั้นท้ายเรียวเล็ก คล้ายสิงโตนั้น ในการปรนเปรอวัวชนนั้น มีการพาเดิน “ตากแดด” เช้าเย็น ฟิตซ้อมอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง บารุงด้วยอาหารอย่างดี อยู่กินหลับนอน ชนิดที่เรียกได้ว่า “ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม”และบ่อยครั้งที่มีการนาเอาวิธีการทางไสยศาสตร์มาช่วย “สร้างขวัญ” ให้ฝ่ายตน และ “ข่มขวัญ” ฝ่ายตรงข้าม วิถีชีวิตของคนเลี้ยงวัวชน จะต้องอยู่ กิน หลับนอนกับวัว เสมือนหนึ่งว่าเป็นบุคคลในครอบครัว บ่อยครั้งที่วัวได้รับการเลี้ยงดูดีกว่าบุคคลในครอบครัว ทั้งลูกและเมียต่างก็ยอมรับสภาพดังกล่าว เพราะพวกเขาต่างถือว่าวัวก็คือ “หุ้นส่วนชีวิต”ของเขาด้วยเช่นกัน ผู้ที่เป็นนักเลงวัวชนจะต้องกล้าได้กล้าเสีย และมีวิญญาณของนักพนันเสี่ยงโชคอยู่ในหัวใจ ยิ่งผู้ที่ต้องการจะยกตนเองขึ้นถึงขั้น “นักเลงระดับนายหัว” หรือ “พ่อขุนอุปถัมภ์” จะต้องเป็นคนห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มือเติบ ใจถึง น่าเชื่อถือ ทระนงในเกียรติ และศักดิ์ศรีของตน จนถึงขั้นที่กล้าใช้ระบบศาลเตี้ย มาจัดการแก้ปัญหาได้โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายใดๆ ถึงแม้ว่านักการอนามัย จะมองว่าวิถีชีวิตของคนเลี้ยงวัวชนสกปรก น่าขยะแขยง นักศีลธรรมมองว่า เป็นการทรมานสัตว์ แต่ถ้าจะมองอีกด้านหนึ่งของกิจกรรมการชนวัว พบว่ามีส่วนสร้างเครือข่ายธุรกิจสืบเนื่องมากมาย แต่กิจกรรมนี้ก็ได้ซึมซับเข้าสู่วิถีชีวิตของชาวใต้มายาวนาน และหยั่งรากลึกลง ในสายเลือด จนยากที่จะลบออกได้โดยง่าย เพราะวิถีชีวิตในแบบฉบับของผู้เล่นวัวชน ต้องเป็นคนนักเลง ใจถึง พึ่งตนเอง ชิงการนา กล้าได้กล้าเสีย ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนถือได้ว่า สอดคล้องกลมกลืนกับค่านิยมและบุคลิกภาพในแบบฉบับของชาวใต้