บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนน ในเขตอาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนนบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหา และนาเสนอข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนนในเขตอาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษามาจากผู้อานวยการศูนย์ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนนในแต่ละองค์การบริหารส่วนตาบลทั้ง 4 แห่ง และหน่วยกู้ภัยจานวน 1 แห่ง ในเขตอาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วย 1) บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนนในเขตอาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2)ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่และการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ แนวทางแก้ไขปัญหา และอุปสรรค ผลการศึกษาพบว่า บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนนในเขตอาเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี การจัดตั้งศูนย์อานวยการเฉพาะกิจเป็นการดาเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตามมาตรา (16) 1 ของพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ขึ้น โดยให้มีโครงสร้างภารกิจหน้าที่และหน่วยงานปฏิบัติการร่วมประจาศูนย์อานวยการเฉพาะกิจ ประกอบด้วย 8 ฝ่าย 1 คณะที่ปรึกษา ได้แก่ คณะที่ปรึกษา ฝ่ายอานวยการ ฝ่ายแจ้งเตือนภัย ฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสาร ฝ่ายรับบริจาค ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย และฝ่ายฟื้นฟูบูรณะ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่และการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ การประสานงานล่าช้าเนื่องจากระบบการสื่อสาร รวมถึงการเข้าถึงผู้ประสบภัยล่าช้าเนื่องจากมีผู้มุงดูเหตุการณ์ก่อนเจ้าหน้าที่จะไปถึงสถานที่เกิดเหตุ การโทรศัพท์แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นไม่ชัดเจนทั้งอาการผู้บาดเจ็บและสถานที่เกิดเหตุ เพราะอาการของผู้บาดเจ็บจะเป็นตัวกาหนดชนิดของรถพยาบาลฉุกเฉินที่จะออกไปช่วยเหลือ ไม่ทาให้เกิดส่งรถผิดชนิดไปช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ จัดซื้อวิทยุสื่อสาร พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้รายงานเหตุการณ์ทางวิทยุได้อย่างถูกต้อง จัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อให้เข้าถึงผู้ประสบภัยให้เร็วที่สุด ขอความร่วมมือจากประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ประชาชนเปิดทางให้รถฉุกเฉินไปก่อน ดาเนินการปรับปรุงระบบเครื่องหมายจราจร เช่น ป้าย เครื่องหมายบนพื้นทาง ไฟฟ้าส่องสว่าง และสัญญาณไฟจราจร ติดตั้งป้ายจากัดความเร็วในเส้นทางที่อันตราย