ความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จารึก ถาพร นักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนต้าบลพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่น, จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง และผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นของเทศบาลน้้าเชี่ยว ที่มีต่อประชาชนในท้องถิ่น ท้าการศึกษาข้อมูลจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลต้าบลน้้าเชี่ยว จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ ผู้ด้าเนินกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย นักการเมืองกลุ่มเก่า นักการเมืองกลุ่มใหม่ ผู้สนับสนุนทางการเมือง (ผู้ช่วยหาเสียงหรือหัวคะแนน) ในอดีตและปัจจุบัน รวมจ้านวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า สืบเนื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการกระจายอ้านาจ ได้ให้ความส้าคัญกับการปกครองท้องถิ่น โดยมอบอ้านาจอิสระแก่ท้องถิ่นมีอิสระในการปกครองตนเอง ซึ่งในการกระจายอ้านาจไปสู่ประชาชน โดยการมอบอ้านาจให้ตัวแทนเข้าไปบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง แต่การกระท้าตามบทบาทอ้านาจหน้าที่ดังกล่าวท้าให้เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น นั่นคือ ต่างฝ่ายต่างพยายามท้าให้ความคิดเห็นของตนเองบรรลุผลอันจะเป็นการน้าไปสู่พฤติกรรมการท้าให้ตนเองเป็นผู้ชนะและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แพ้อันน้าไปสู่สถานการณ์ของความขัดแย้ง การเมืองท้องถิ่นของเทศบาลต้าบลน้้าเชี่ยวก็เกิดความขัดแย้งจากสถานการณ์ความแตกต่างทางความคิดระหว่างกลุ่มนักการเมืองกลุ่มเก่าและกลุ่มนักการเมืองกลุ่มใหม่ โดยสาเหตุของความขัดแย้งมาจาก ลักษณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับภูมิหลัง การรับรู้ ความรู้สึก การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนในการรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างกันของบุคคล ซึ่งผลกระทบในชุมชนและท้องถิ่น ได้แก่ ความเป็นมิตรระหว่างบุคคลลดลง ความเชื่อถือ ไว้วางใจต่อกันหมดไป เกิดความแตกแยกเป็นฝักฝ่าย เกิดความบาดหมางระหว่างกัน อาจน้ามาซึ่งการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการแก้ไขปัญหา น้าไปสู่ความตึงเครียดและ/หรือหาทางออกด้วยวิธีการที่รุนแรง ดังเช่นการลอบท้าร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิต สร้างความเบื่อหน่ายทางการเมืองให้แก่ประชาชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-16