การวิเคราะห์ข้อมูลการโอนงบประมาณ ระหว่างปีงบประมาณ 2550-2554 ขององค์การบริหารส่วนตาบลบ้านยาง อาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ตีระนิตย์ อินจันทร์ นักศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัย การปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การโอนงบประมาณ, พ.ศ.2550-2554, องค์การบริหารส่วนตาบลบ้านยาง

บทคัดย่อ

บทความนี้นาเสนอผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ข้อมูลการโอนงบประมาณระหว่างปีงบประมาณ 2550-2554 ขององค์การบริหารส่วนตาบลบ้านยาง อาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการโอนงบประมาณในรอบ 5 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2550-2554 ขององค์การบริหารส่วนตาบล บ้านยาง อาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาพบว่า ในระหว่างปีงบประมาณ 2550-2554 องค์การบริหารส่วนตาบลบ้านยาง อาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้มีการโอนงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปีงบประมาณจานวนหลายครั้ง กล่าวคือ ปีงบประมาณ 2550 มีการโอนงบประมาณรายจ่าย จานวน 9 ครั้ง จาแนกออกเป็น 32 รายการโอน ปีงบประมาณ 2551 มีการโอนงบประมาณรายจ่าย จานวน 10 ครั้ง จาแนกออกเป็น 38 รายการโอน ปีงบประมาณ 2552 มีการโอนงบประมาณรายจ่าย จานวน 12 ครั้ง จาแนกออกเป็น 32 รายการโอน ปีงบประมาณ 2553 มีการโอนงบประมาณรายจ่าย จานวน 11 ครั้ง จาแนกออกเป็น 37 รายการโอน และปีงบประมาณ 2554 มีการโอนงบประมาณรายจ่าย จานวน 17 ครั้ง จาแนกออกเป็น 45 รายการโอน ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น โดยเหตุผลสาคัญของการโอนงบประมาณ คือ 1) โอนงบประมาณเนื่องจากงบประมาณที่ตั้งไว้เดิมตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี ไม่เพียงพอแก่การใช้จ่าย จึงจาเป็นต้องโอนเพิ่ม หรือ 2) การไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ จาเป็นต้องตั้งรายการใหม่ ซึ่งหากมองในมิติของการบริหารจัดการทางการเงินการคลังแล้ว เป็นการกระทาที่ขาดวินัยทางการเงินการคลัง เพราะการโอนงบประมาณรายจ่ายในระหว่างปีงบประมาณบ่อยครั้งเกินไป ก็คือการไม่ดาเนินการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่กาหนดไว้ อันมีมูลเหตุสาคัญของปัญหามาจากการขาดการวิเคราะห์วางแผนการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปีที่มีความรอบคอบและมีความชัดเจน และไม่สะท้อนข้อเท็จจริงต่างๆ ของการปฏิบัติงานตามบริบทของหน่วยงานและพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตาบลมีประสิทธิภาพและมีวินัยทางการคลังที่ดี จึงควรดาเนินการ 4 ประการ คือ 1) ในการจัดทาข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละส่วนราชการควรมีการพิจารณาตั้งงบประมาณรายจ่ายโดยอิงกับข้อมูลรายจ่ายจริงในปีที่ผ่านมาและข้อเท็จจริงในปัจจุบันประกอบ 2) ก่อนการจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่น และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี อบต. ควรมีการประชาสัมพันธ์ กรอบระยะเวลาการจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่น และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี ให้ประชาชน ส่วนราชการในพื้นที่หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นได้รับทราบ 3) การจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่น และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี ต้องอยูบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องและ 4) อบต. ต้องควบคุมการโอนงบประมาณรายจ่ายไม่ควรให้มีการโอนบ่อยครั้งเกินไป เพื่อเป็นการวินัยทางการเงินการคลัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-16

How to Cite

อินจันทร์ ต. (2019). การวิเคราะห์ข้อมูลการโอนงบประมาณ ระหว่างปีงบประมาณ 2550-2554 ขององค์การบริหารส่วนตาบลบ้านยาง อาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 2(1), 64–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/225459